หัวข้อวิทยานิพนธ์
“ฟังเฟื่อง” การออกแบบกิจกรรมสร้างความตระหนักและประสบการณ์ในเรื่องการฟัง สำหรับเยาวชนและครอบครัว
ImaginEars: DESIGNING ACTIVITIES TO RAISE AWARENESS OF THE SENSE OF LISTENING
ผู้แต่ง
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน
บทคัดย่อ
การฟังสร้างความสามารถในการรับรู้ เชื่อมความสัมพันธ์ และกลั่นกรองเป็นความรู้ความเข้าใจในบทบาทของมนุษย์บนโลก เราอยู่ในบริบทที่แวดล้อมไปด้วยเสียงในทุกช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงทำให้เรามีความตระหนักถึงการรับรู้เสียงแตกต่างไปจากเดิม สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิตประจำวันที่รีบร้อนในสังคมปัจจุบัน Daniel Barenboim นักเปียโนกล่าวถึงได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ในการรับรู้ของมนุษย์ว่า มนุษย์เรามักใช้ “หู” ในการรับรู้ และใช้ “ดวงตา” ในการตัดสินสถานการณ์จากภาพที่เห็น จนทำให้บทบาทในการตระหนักรู้ในชีวิตประจำวันขาดความลึกซึ้ง ในขณะที่ Kate Murphy ผู้เขียนหนังสือ ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง เนื้อหาของหนังสือได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการฟังที่ลดลงซึ่งนำไปสู่ปัญหาทั้งด้านอารมณ์ ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งปัญหาทางความรุนแรงอีกมากมาย ตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว จนไปถึงระดับสังคมและองค์กร
ในปัจจุบันมีการศึกษาและกิจกรรมสร้างความตระหนักในการฟังเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิกิจกรรม Sonic Meditation ของ Pauline Oliveros ที่ให้ผู้คนมาร่วมสร้างเสียงผ่านการร้องหรือเล่นเครื่องดนตรี ผ่านโจทย์ที่ประกอบไปด้วย 4 กระบวนการได้แก่ การผลิตเสียง, การจินตนาการถึงเสียง, การนำเสนอเสียง และการจดจำเสียง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาการฟังเพื่อนำมามาสู่การสื่อสารผ่านเสียงได้ดียิ่งขึ้น หรือในกิจกรรม Soundwalk ใต้แนวคิดของ Murray Schafer กิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟังเสียงที่ใกล้ตัวมากที่สุด จนไปถึงเสียงที่ไกลออกไป เพื่อรับรู้ถึงประสบการณ์ในการฟังผ่านเสียงในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยจากตนเอง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการตระหนักและมีความลึกซึ้งต่อสถานการณ์ของเสียงรอบตัวมากยิ่งขึ้น กิจกรรม“ฟัง…อย่างไรให้เห็นความงาม” จัดโดยศิลปินสวนโมกข์ ที่มุ่งเน้นการฟังเพื่อสำรวจและพัฒนาจิตใจของตนเองพร้อมกับให้พื้นที่แก่ผู้อื่นในบทบาทของผู้เล่าเรื่อง เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้ใช้การฟังในการจดจ่อในรูปแบบที่คล้ายกับการตั้งสมาธิ เพื่อนำไปสู่การตระหนักถึงเสียงรอบตัว หรือกิจกรรม “ฟังสร้างสุข” จัดโดยสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนระหว่างบทบาทของผู้เล่าและบทบาทของผู้ฟัง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฟังเสียงผ่านการบอกเล่าประสบการณ์ของแต่ละคน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการฟังในสังคมปัจจุบัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์การฟังอย่างมีคุณภาพให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
จากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการฟังในมนุษย์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฟัง ศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างกิจกรรมสร้างความตระหนักและประสบการณ์ในเรื่องการฟังในรูปแบบการวิจัยเชิงปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะออกแบบกิจกรรมในรูปแบบของนิทรรศการออนไลน์ซึ่งประกอบไปด้วย ผลงานไฟล์เสียงออดิโอดิจิตอลหรือพอดแคสต์ที่ผสมผสานการให้ข้อมูลในเรื่องการพัฒนาการฟัง ร่วมกับการสร้างประสบการณ์การฟังที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการฟัง รวมไปถึงกิจกรรมสร้างประสบการณ์การฟัง ที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนและครอบครัว อีกทั้งเป็นการสร้างพื้นที่ให้กับบุคคลที่สนใจในเรื่องการฟังได้เข้าร่วมและศึกษาต่อไป
Listening creates the ability to perceive, connect, and comprehend the roles within human society. We are surrounded by sounds in every moment; from birth to death. Daniel Barenboim the pianist points out about situations under human perceptions that humans tend to rely only on our ears and eyes for perception and situation assessment which at the same time, the profoundness of our daily lives are gone. At the same time, Kate Murphy the author of You’re Not Listening: What You’re Missing and Why It Matters, reflects upon the problem of the decline of listening which leads to emotional problems, misunderstanding, and violence in individual, domestic and societal levels.
So far, there have been studies and activities that promote awareness of listening in Thailand and abroad. For example, Pauline Oliveros’ Sonic Meditations brings people together to sing, play, and make music through 4 stages: Actually making sounds, Actively imagining sounds, Listening to present sounds and remembering sounds to let the participants develop listening and communicating skills through music. As in Murray Schafer’s soundwalk invites participants to explore surrounding sounds. Listen to the sounds closest to us up to the sounds that are furthest away from us in order to experience listening to sounds in different situations. The activity can be adapted into everyday life so the participants can start to realized and be more profound to the surrounding sound; the activity How to listen for beauty: Contemplative Listening by Suan Mokkh Artist uses listening as a tool to examine and develop one’s own mind while giving others the opportunity to be the narrator; the activity Listen with Your Heart by Thai Health Promotion Foundation offers a chance to interchange the roles of a narrator and a listener. These activities take form as a creative project or workshop, and intent to create meaningful listening experience for participants.
Researching the human auditory process, theories on listening, and activities promoting awareness and listening experience, it is my intention to design an activity that will promote awareness of listening and reinforce listening experience, while being relevant to Thai society and the present. The activity will be an online exhibition which features a series of podcasts on how to enhance listening skill and listening experience. These podcasts are aimed for youths and families, and will be a resource for those interested in listening.