ความฝันและจิตใจ: การสำรวจตัวตนผ่านบทเพลงร้องศิลป์และการแสดง
Dreams and the Psyche: Exploring the Self Through Lieder and Performance
อารยา ยังคำ, สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
Araya Yangkham, Princess Galyani Vadhana Institute of Music
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เกิดจากการพยายามหาคำตอบให้กับความซับซ้อนภายในจิตใจ โดยเป็นการสำรวจจิตใจและค้นหาสิ่งที่อยู่ภายใน การตระหนักรู้ตนเองในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการละเลยความต้องการและความเป็นตัวตน บทความฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการหาแนวทางในการสำรจตนเอง ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยา ปรัชญา นำเสนอผ่านการแสดงออกโดยผ่านบทเพลงร้องศิลป์ ที่ถูกนำมาตีความให้สอดคล้องกับบริบทของวิจัย ใช้แนวทางของการแสดงในการช่วยค้นหาและสร้างตัวละครขึ้นมาในบทเพลง
ในการสำรวจจิตใจ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของคาร์ ยุง มาใช้ในการศึกษาและอ้างอิง ศึกษาปรัชญาของ ฟอน เกอเธ่ ในการค้นหาความหมายของชีวิต โดยแสดงออกผ่านบทเพลงร้องศิลป์ ของ ฟรานซ์ ชูเบิร์ต และศึกษาชีวิตเบื้องหลังของ ฟรานซ์ ชูเบิร์ต ที่ส่งผลต่อผลงานของเขา โดยเหล่านี้ผู้วิจัยได้หาจุดเชื่อมโยงและประมวลผลเป็นบทสรุปสุดท้ายในแนวทางของผู้วิจัยผ่านการแสดง โดยผู้วิจัยมุ่งหวังว่าการสำรวจตัวตนจะช่วยให้ผู้ชมเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับความต้องการภายใน และชวนให้กลับมาสำรวจความต้องการของตนเองต่อไป
งานวิจัยฉบับนี้ ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
คำสำคัญ: ทฤษฎีจิตวิเคราะห์, การค้นหาตัวตน, เงามืด, บทเพลงร้องศิลป์
ABSTRACT
This research stems from an attempt to find answers to the complexities of the human mind by exploring and searching within oneself. In the modern era, self-awareness has become increasingly difficult. The rapid changes in society have led to the neglect of personal needs and true identity. Therefore, this research aims to provide a framework for self-exploration through psychology and philosophy, presented through artistic song performance. The selected Lieder are reinterpreted to align with the research context, using acting techniques to aid in the discovery and embodiment of characters within the songs.
In exploring the mind, this study applies Carl Jung’s psychoanalytic theory as a foundation for analysis, along with Johann Wolfgang von Goethe’s philosophy in the search for the meaning of life. These concepts are expressed through the Lieder of Franz Schubert, while also examining how Schubert’s personal life influenced his works. The researcher seeks to find connections among these elements and synthesize them into a final interpretation through performance. Ultimately, this study aims to encourage audiences to question their inner desires and reflect on their own self-exploration.
Keywords: Psychoanalytic Theory, Self-Exploration / Self-Discovery, Shadow and Lieder