Master of Music Program PGS2025 เพลงภาษา: การสอนดนตรีในรูปแบบออนไลน์สู่การนำไปใช้ในห้องเรียน Accent Songs: Teaching Music from Online Learning to Classroom Application

เพลงภาษา: การสอนดนตรีในรูปแบบออนไลน์สู่การนำไปใช้ในห้องเรียน Accent Songs: Teaching Music from Online Learning to Classroom Application



เพลงภาษา: การสอนดนตรีในรูปแบบออนไลน์สู่การนำไปใช้ในห้องเรียน
Accent Songs: Teaching Music from Online Learning to Classroom Application

สสิพงษ์ แก้วเปี้ย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Sasipong Kaewpia, Chulalongkorn University

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนเรื่องเพลงภาษาสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาในรูปแบบออนไลน์และในห้องเรียน มีความแตกต่างหลายประการที่ครูผู้สอนต้องคำนึงและตระหนักถึง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทางดนตรีอย่างครบถ้วน ครูผู้สอนจำเป็นต้องใช้วิธีการหรือรูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุม ในบทความชิ้นนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพลงเพลงภาษาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายตามสาระดนตรีในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์สู่การนำไปใช้จริงในห้องเรียน โดยผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนเพลงภาษาในหัวข้อ ‘เพลงคุณหลวง’ ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่อง โดยเก็บข้อมูลเชิงลึกจากจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์และในห้องเรียนของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
(ฝ่ายประถม) ที่เรียนในรายวิชาดนตรีไทยตลอดทั้งภาคการศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนการสอนในลักษณะออนไลน์ จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทางดนตรี เช่น ความหมายเพลงภาษา ประวัติเพลงภาษา ผ่านการใช้คลิปวิดีโอประกอบการสอน 2) การสอนในห้องเรียนจะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องของทักษะทางดนตรี เช่น การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี การเคลื่อนไหว แต่ยังคงใช้วิธีการสร้างความรู้ความเข้าใจจากคลิปวิดีโอการสอนเรื่องประวัติเพลงภาษา เพราะสื่อการสอนในลักษณะวิดีโอเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

จากผลการวิจัยจะพบว่ารูปแบบการสอนทั้งสองแบบควรใช้สาระดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในดนตรีมากขึ้น ผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีหลักการและมีแบบแผน สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนของตนเอง และเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดนตรีต่อไป

คำสำคัญ: การเรียนการสอนออนไลน์, สาระดนตรี, เพลงภาษา


ABSTRACT

Teaching and learning about accent songs for elementary school students in online and classroom settings have several key differences that teachers must consider ensuring comprehensive music essence. Teachers need to employ diverse teaching methods and approaches to facilitate effective and inclusive instruction. This study aims to present strategies for teaching accent songs to upper elementary students within the music essence, transitioning from online instruction to practical classroom application. The researcher conducted lessons on the song “Phleng Khun Luang” a piece used for teaching upper elementary students, employing a qualitative narrative approach methodology. Data were collected through in-depth observations of both online and in-class learning among Grade 4 students at Prasarnmit Elementary Demonstration School.

The findings reveal that:
1) Online learning primarily focuses on developing students’ understanding of musical content, such as the meaning and history of accent songs, through instructional video clips.
2) Classroom learning emphasizes the development of musical skills, such as singing, playing instruments, and movement, while still incorporating instructional videos on the history of accent songs to enhance engagement and comprehension.

The research suggests that both teaching approaches should integrate fundamental music essence as core components of instruction to enhance students’ musical knowledge and understanding. With structured and principled teaching strategies, educators can effectively assess student learning outcomes. These findings can guide teachers in adapting their instructional methods to suit their classrooms and contribute to the development of music education.

KEYWORDS: Online Teaching, Music Essence, Accent Songs