Abstract
In every culture and time period, music has always been a medium of expression that gathers people together. In Thailand, the Sadhukarn, ceremonial music from the beginning of the Rattanakosin era (1782-1851), expressed a bodily and mental salutation to heavenly spirits, inviting and uniting the minds of the people towards one shared belief. In a parallel era in Central Europe, the music of the Biedermeier period (1815-1848) also had a unifying function as it grew out of societal conditions in which the distinction of classes became less pronounced. The search for a simpler, more natural aesthetic in music and the arts emerged as a response to the tumultuous events that had shaken European history preceding this era; it was a conscious, rigorous move to restore a sense of peace. This spirit of Biedermeier culture was the starting point for exploring new options in chamber music performance. The pieces studied and performed for this research were serenades written for the relatively rare combination of guitar, violin, and viola by Biedermeier-era composers Leonard von Call, Wenzeslaus Matiegka, and Anton Diabelli, as well as a newly created arrangement of the Thai Sadhukarn for the same combination of instruments. Upon investigation of the role that music written in the Austrian Biedermeier and Thai Rattanakosin cultural contexts had in the broader community, it was found that both cultures were strongly driven by the middle class, resulting in a conception of music that emphasized its accessibility and functionality in daily life. By performing these works, the aim was to transfer knowledge about the social function of this music to contemporary audiences of today.
ดนตรีเป็นสื่อกลางในทุกวัฒนธรรมและทุกยุคสมัยแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในประเทศไทย ดังบทเพลงสาธุการที่สืบทอดมาสำหรับประเพณีและพิธีกรรมถึงในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325 – 2394) ซึ่งดนตรีมีหน้าที่ในการแสดงออกผ่านการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยกายและใจ ผ่านนิยามการเชิญชวนและร่วมใจกันจากความเชื่อร่วมของผู้คน ช่วงเวลาคู่ขนานทางประวัติศาสตร์เวลาหนึ่ง เรียกว่า บีเดอร์ไมเออร์ เป็นช่วงเวลาหนึ่งในยุโรปกลาง (พ.ศ. 2358 – 2391) ชนชั้นทางสังคมเกิดการแบ่งแยกน้อยลง การแสวงหาความเรียบง่ายซึ่งเป็นสุนทรียะแห่งธรรมชาติในดนตรีและศิลปะหลังจากช่วงเวลาความขัดแย้งในยุคก่อนหน้าเป็นช่วงเวลาของการใช้สติสัมปชัญญะซึ่งนำไปสู่ผัสสะแห่งความสงบจากจิตวิญญาณในจิตวิญญาณของบีเดอร์ไมเออร์ เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาแนวทางในการบรรเลงดนตรีเชมเบอร์เป็นบทเพลงที่ใช้ศึกษาและแสดงในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นเพลงที่ประพันธ์สำหรับเครื่องดนตรีไวโอลิน วิโอลา และกีตาร์ โดย เลออนฮาร์ด ฟอน คาลล์ (พ.ศ.2310 –2358) เวนเชสลาอุส มาทิเอคกา (พ.ศ. 2316 –2373) และอันทอน ดิอาเบลี (พ.ศ. 2324 –2401) อีกทั้งผลงานการเรียบเรียงบทเพลงสาธุการสำหรับกลุ่มเครื่องทริโอนี้ เป็นแนวคิดที่จะนำผัสสะแห่งความรักใคร่สามัคคี และการเข้าถึงการแสดงโดยการศึกษาบทบาทของดนตรีในยุคบีเดอร์ไมเออร์ในประเทศออสเตรียและยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ่านบริบททางวัฒนธรรม จากการศึกษาพบว่าทั้งสองวัฒนธรรม ถูกขับเคลื่อนอย่างเข้มข้นโดยชนชั้นกลางที่ปรากฏอยู่ในแนวคิดทางวัฒนธรรมดนตรีที่คนสามารถเข้าถึงได้และสร้างสัมพันธภาพในชีวติประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยในการแสดงบทประพันธ์ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดความรู้สึกเกี่ยวกับบริบททางสังคมของดนตรีนี้ให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบัน