HERO’S JOUREY
HERO’S JOUREY
A BEETHOVEN ODYSSEY IN THREE ACTS
One of the defining characteristics of Beethoven’s style is his
narrative sensibility. Each of the sonatas on this evening’s
program
is a story in sound. Beethoven provides the form and
we as listeners provide the content. As Victor Hugo observed,
with Beethoven, “the dreamer will recognize his dream, the
sailor his storm...and the wolf his forests.”
Drawing inspiration from the narrative quality of Beethoven’s
music, I have selected three sonatas to perform this evening
that
together trace the narrative arc of Beethoven’s personal and
creative development: from youthful exuberance to pain and
struggle and, finally, to spiritual transcendence.
ลักษณะเฉพาะของเบโทเฟนอย่างหนึ่งคือการเล่าเรื่องด้วยอารมณ์ละเอียดอ่อนของเขา ในโซนาตาแต่ละบทที่นำเสนอในค่ำคืนนี้เป็นเรื่องราวในเสียงเพลง
เบโทเฟนให้รูปแบบและพวกเราในฐานะผู้ฟังให้เนื้อหา ดังที่วิกเตอร์ ฮูโกได้ตั้งข้อสังเกตต่อเบโทเฟนว่า “ผู้ฝันจะระลึกถึงความฝันของเขา กะลาสีนึกถึงพายุ และหมาป่าจะคิดถึงป่า”
แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าในดนตรีของเบโทเฟน ทำให้ผู้แสดงได้เลือกบทเพลงโซนาตาสามบทมาบรรเลงในค่ำคืนนี้
รวมกันแล้วทั้งสามเพลงได้ตามรอยเรื่องเล่าส่วนตัวและการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเบโทเฟน ตั้งแต่วัยเยาว์ที่เบิกบานไปยังความเจ็บปวดและการดิ้นรนและในที่สุดไปสู่จิตวิญญาณที่ อยู่นอกเหนือขึ้นไป
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Piano Sonata in F major, Op. 10 No. 2
“I’ll never forget yesterday evening! Satan himself is hidden in that young
man. I have never heard anyone play like that! He improvised on a theme
which I gave him as I never heard even Mozart improvise…He can overcome
difficulties and draw effects from the piano such as we couldn’t even allow
ourselves to dream about.”
—The pianist Joseph Gelinek on Beethoven’s playing.
Beethoven composed the piano sonata Op. 10 no. 2 between
1796 and 1798. At the time, he was a young hot-shot pianist;
the
toast of Viennese high society. This sonata bursts with energy
and imagination.
Much of the excitement and humour of the first movement is
derived from the juxtaposition of different musical ideas next to
each other.
You’ll hear short, jumpy motives, long lyrical lines,
Sturm und Drang (meaning stormy music), folk-like melodies,
and even a little Opera Buffa thrown in for good measure. Listen
for an argument between a soprano voice and a rude bass at the
end of the exposition and recapitulation. Listen also for the false
recap: Beethoven tricks us by starting the recapitulation in the
wrong key—D major instead of F.
The elegant second movement is in minuet and trio form. I hear
this movement as a string quartet and draw inspiration
from the
quartet sonority. Like the Appassionata, which I’ll perform next,
this movement is in the key of f minor. I find it interesting that
the opening theme is similar to that of the Appasionata: we hear
a mysterious and ominous melody played by two low voices in
unison. Unlike the Appassionata, however, all darkness and
mystery evaporates by the end of the phrase.
The third movement is a rambunctious fugato buzzing with joy
and good humour. The style is something like a combination
of
Haydn and Bach, but with Beethoven’s characteristic rough
humour.
“ผมจะไม่มีวันลืมเมื่อคืนวานนี้! ซาตานได้มาแฝงอยู่ในหนุ่มคนนั้น ผมไม่เคยได้ยินใครเล่นอย่างนั้นเลย เขาด้นสดทำนองหลักที่ผมให้เขาอย่างที่ผมไม่เคยได้ยินเเม้กระทั่งการด้นสดของโมสาร์ทก็ตาม เขาสามารถชนะความยากทั้งปวงได้และแสดงสีสันแอฟเฟคจากเปียโนอย่างที่เราเองไม่สามารถแม้กระทั่งจะฝันถึงได้”
โยแซฟ เยลิเนค (นักเปียโน) กล่าวถึงเบโทเฟน
เบโทเฟนประพันธ์โซนาตาบทนี้ระหว่างปี ค.ศ. 1796-98 ในขณะนั้นเขาเป็นศิลปินนักเปียโนหนุ่ม ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนชั้นสูงในเวียนนา
โซนาตาบทนี้มีประทุไปด้วยพลังและจินตนาการ
อารมณ์ขันที่ตื่นเต้นส่วนใหญ่ในกระบวนแรกได้มาจากการนำแนวทางดนตรีที่แตกต่างกันมาร้อยเรียงต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน เราจะได้ยินโมทีกระโดดสั้นๆ
แนวร้องยาว พายุและแรงผลักดัน (Sturm
und Drang), ทำนองดนตรีพื้นเมือง และแม้แต่โอเปราบุฟฟาที่ดึงเข้ามาได้อย่างดี ฟังการโต้ตอบระหว่างเสียงโซปราโนและเสียงเบสที่หยาบคายในตอนท้ายของท่อนนำเสนอ (Exposition) และท่อนย้อนความ (Recapitulation) การฟังท่อนย้อนความที่ปลอมแปลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมที่เบโทเฟนเข้าท่อนย้อนความในบันไดเสียงดีเมเจอร์ที่ผิดรูปแบบ แทนที่จะเป็นเอฟเมเจอร์
กระบวนที่สองอันสง่างามเป็นคีตลักษณ์แบบ “มินูเอทและทริโอ” ผู้แสดงฟังท่อนนี้เหมือนสตริงควอเตตและดึงแรงบันดาลใจจากความกังวานของควอเตต
ท่อนนี้อยู่ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ เหมือนกับ “อพาสเชินนาตา” ที่ผู้แสดงจะบรรเลงเป็นเพลงต่อไป ผู้แสดงค้นพบสิ่งที่น่าสนใจที่ท่อนเปิดตัวของกระบวนนี้คล้ายคลึงกับท่อนเป็นตัวของ “อพาสเชินนาตา” ซึ่งเราจะได้ยินเสียงต่ำๆ ที่ลึกลับเหมือนมีลางสองเสียงเล่นพร้อมกันในลักษณะยูนิสัน ต่างกันกับ “อพาสเชินนาตา” ที่ความมืดมนและลึกลับที่ค่อยๆ เลือนหายไป
กระบวนที่สามเป็นท่อนหลายแนวแบบฟูกาโตที่ครึกโครม เต็มไปด้วยความปิติและอารมณ์ขันที่ดี ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับการรวมการเล่นของไฮเดิล
และบาคเข้าด้วยกันแต่ด้วยลักษณะอารมณ์ขัน
ของเบโทเฟน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Piano Sonata in f minor, Op. 57, “Appassionata”
“What a humiliation for me when someone standing next to me heard a flute
in the distance and I heard nothing…Such incidents drove me almost to
despair; a little more of that and I would have ended my life—it was only
my art that held me back. Ah, it seemed to me impossible to leave the world
until I had brought forth all that I felt was within me.”
—from the Heiligenstadt Testament, a letter from Beethoven to his brothers (1802)
Around 1800, Beethoven came to the painful realization that he
was losing his hearing. He composed the sonata in f minor, Op.
57,
commonly known as the Appassionata (“passion” in Italian)
in 1804 and 1805. Was the Appassionata an expression of
Beethoven rage and sorrow over the loss of his hearing? There is
no way to know since Beethoven did not provide a program.
Whatever his inspiration may have been, this sonata is one of his
darkest works.
The first movement can be understood as an epic battle between
two harmonic regions: the home key of f minor and D-flat
major.
The battle between these two regions is expressed
frequently in terms of the notes C and D-flat. Those of you
familiar with Beethoven’s fifth symphony will recognize the “fate
motive” (short short short long) on the pitches of D-flat and C.
Although f minor wins out at the end of the first movement, Dflat
major gets its moment to shine in the second.
The second
movement, in variation form, is in D-flat major. The warm and
stately theme has an elemental force: it is little more than a
succession of tonic, subdominant, and dominant harmonies.
There is nothing the least bit “flowery” about this theme.
Excitement gradually builds with each successive variation.
The third movement follows from the second without pause.
Here, Beethoven is relentless: a dramatic perpetual motion of
sixteenth notes caries us, with virtually no interruption, from
start to finish. This music is intense; almost breathless in its
agitation. In the coda, Beethoven raises the intensity higher still,
pushing the music (and the pianist!) to the limits.
“เป็นความอัปยศอดสูสำหรับผม เมื่ออีกคนที่ยืนข้างผมได้ยินเสียงฟลุตจากระยะไกลแต่ผมไม่ได้ยินอะไรเลย สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมแทบจะหมดหวัง
และยิ่งไปกว่านั้นผมเกือบจะจบชีวิตของผมลงแล้ว แต่เป็นเพียงเพราะศิลปะของผมที่ดึงผมกลับมา สำหรับผมมันดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจากโลกนี้ไปจนกว่าผมจะนำสิ่งที่อยู่ภายในผมออกไปข้างหน้า”
อ้างมาจากจดหมายที่เบโทเฟนเขียนถึงน้องชายของเขา
ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าเป็น พินัยกรรม ไฮลิเกน สตาดท์ ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1802
ประมาณปี ค.ศ. 1800 เบโทเฟนตกอยู่ในเจ็บปวดเมื่อตระนักว่าเขาสูญเสียการได้ยิน เบโทเฟนประพันธ์โซนาตา ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ ผลงานลำดับที่ 57
ที่รู้จักกันดีในนามของ “อพาสเชินนาตา” (passion เป็นภาษาอิตาเลียน) ในปี ค.ศ. 1805 และ 1805 “อพาสเชินนาตา” เป็นการบรรยายอารมณ์ความรู้สึกของเบโทเฟนจากความเดือดดาลและความเศร้าใจจากการสูญเสียการได้ยินของเขาหรือไม่? ไม่มีทางจะรู้ได้แน่นอน แม้ว่าแรงบันดาลใจเบื้องหลังจะเป็นอะไรก็ตามโซนาตาบทนี้เป็นหนึ่งในบทที่ มืดมน ที่สุดของเขา
กระบวนแรกสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างสองฮาร์โมนีที่แตกต่าง ระหว่างบันไดเสียงหลัก เอฟ-ไมเนอร์ และบันไดเสียงดี-แฟลตเมเจอร์
การต่อสู้ของสองบริเวณเสียงนี้ได้แสดงออกด้วยโน้ตซี และ ดี-แฟลต ซึ่งคล้ายกับทำนองหลักของบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 5 ของเขา (สั้น สั้น สั้น ยาว) ในโน้ต ดี-แฟลต และ ซี
กระบวนแรกจบลงด้วยโศกนาฏกรรมในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์กระบวนที่สองเป็นลักษณะทำนองแปร (แวริแอชัน) อยู่ในบันไดเสียง ดีแฟลตเมเจอร์ที่สุกใสด้วยทำนองหลักที่อบอุ่นและมีแก่นที่เปี่ยมด้วยพลัง โดยใช้แค่เพียงแนวคอร์ดขั้นที่หนึ่ง สี่ และห้า เรียงร้อยเป็นฮาร์โมนีหลัก จากนั้นแนวทำนองก็จะถูกประดับประดาอย่างสละสลวยในแต่ละแวริเอชัน
กระบวนสุดท้ายเปิดขึ้นทันทีหลังจากกระบวนที่สองโดยไม่มีการหยุดพัก เบโทเฟนได้เขียนโน้ตเขบ็ทสองชั้นวิ่งไล่ไปมาได้อย่างตื่นเต้นเร้าใจโดยไม่มีการหยุดพักตั้งแต่ต้นจนจบเพลง เป็นดนตรีที่รุนแรงและเร่งเร้าจนแทบจะไม่ได้หายใจเลย ในตอนจบเบโทเฟนเพิ่มขีดความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับขั้นสูงสุดของบทเพลง (และนักเปียโน)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Piano Sonata in A-flat major, Op. 110 (1821)
By the time Beethoven wrote the piano sonata Op. 110 in 1821,
it had been over 10 years since he last performed the piano in
public.
The Beethoven who wrote Op. 110 was a very different
man from the one who wrote Op. 10 no. 2. Beethoven was now
51 years old. His health was failing and he was almost
completely deaf.
The first movement is tender and intimate. Beethoven repeatedly
builds towards climaxes and then backs away at the last second
—as if he is struggling to express something he can not quite
bring himself to say.
The second movement is quirky. Beethoven quotes two folk
songs, one of which translates to: “I’m a bum. You’re a bum.
We’re all bums!”
It is in the third movement that a great drama unfolds. This
movement is one of Beethoven’s most overtly narrative creations.
The movement opens with a recitative and arioso—a clearer
parallel to the world of speech would be hard to find.
The operatic recitative and aria give way to a fugue with a
subject that moves up in steady, even pulses. This is music of
hope, determination,
and renewed strength. Tragically, the fugue
ends in a collapse and falls into a second arioso, even deeper and
darker than the first. A series of repeated chords herald the
entrance of a final fugue, this time with the subject descending
from above, as if from heaven.
ในช่วงเวลาที่เบโทเฟนเขียนโซนาตาผลงานลำดับที่ 110 ในปี ค.ศ. 1821 ซึ่งเป็นเวลากว่า 10 ปี หลังจากที่เขาได้แสดงต่อหน้าสาธารณะชนเป็นครั้งสุดท้าย
ขณะนั้นเขามีอายุ 51 ปีและมีปัญหาเรื่องสุขภาพอีกทั้งยังแทบจะหูหนวกสนิท
กระบวนแรกมีลักษณะนุ่มนวลและละเอียดอ่อน เบโทเฟนค่อยๆ สร้างดนตรีจนไปสู่จุดสูงสุดและกลับลงมาในวินาทีสุดท้าย
ราวกับว่าเขากำลังดิ้นรนที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกบางอย่างแต่ในที่สุดก็ถอยออกมา
กระบวนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขันที่ตึงตัง เบโทเฟนได้นำเสนอทำนองเพลงพื้นเมืองสองทำนอง หนึ่งในนั้นมีความหมายว่า “ฉันนั้นไร้ค่า คุณก็ไร้ค่า เราทุกคนนั้นไร้ค่า ”
ในกระบวนที่สามเป็นการเปิดเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่สร้างสรรค์ที่สุดเรื่องหนึ่งของเบโทเฟน ท่อนนี้เปิดด้วยรีซิเททีฟและเอเรียเพลงร้องที่โหยหวน
หลังจากนั้นจะตามด้วยแนวประสานเสียงฟิวก์ที่เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดนตรีนี้ฟังแล้วทำให้มีความหวัง มีความมุ่งมั่นและมีความแข็งแรง และแล้วฟิวก์ก็ถูกขัดจังหวะลงด้วยการกลับมาของเอเรียร้องในรอบที่สองซึ่งลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่ารอบแรก แนวชุดของคอร์ดซ้ำๆ ได้ป่าวประกาศเข้าไปสู่ฟิวก์ในช่วงสุดท้ายที่เป็นการค่อยๆไล่โน้ตกลับลงมาราวกับว่ามาจากสวรรค์
Wednesday May 17, 2017, 19.00
at Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music