PROGRAM

Musique de la Vie et de la Terre

2nd CONCERT SEASON MUSIQUE DE LA VIE ET DE LA TERRE ดนตรีแห่งชีวิต ดนตรีแห่งแผ่นดิน (Part 1)


ชุดที่ 1 บางยี่ขันและเซโรโทนิน ดรัม คลับ

โครงการบริการวิชาการของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาตระหนักถึงการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ผ่านดนตรีที่พัฒนาในรูปแบบสร้างสรรค์
และประยุกต์ให้สอดคล้องกับสังคม ที่ผ่านมาเยาวชนดนตรีบางยี่ขันได้ฝึกฝนการขับร้องประสานเสียง และได้จัดแสดงผ่านในสถานีวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งสำหรับปีนี้โครงการเยาวชนดนตรีบางยี่ขันได้จัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการทางดนตรี โดยได้รับความร่วมมือกับทางสถาบัน Serotonin Culture Institute จากสาธารณรัฐเกาหลีใต้

ชมรมกลองเซโรโทนินประเทศเกาหลีใต้ ได้พัฒนากิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนเพื่อพัฒนาทางด้านอารมณ์และการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้กับเยาวชน
เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิกกว่า 160 โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา อีกทั้งยังมีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ เยาวชภายนอกและศิษย์เก่าของชมรมอีกจำนวนมาก กิจกรรมประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติของสาธารณรัฐเกาหลีใต้

การแสดงชุดนี้เป็นการโหมโรงของคอนเสิร์ต Musique de la Vie et de la Terre ในการแสดงคอนเสิร์ตของวงดุริยางค์เยาชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนบวรมงคลเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ สู่สังคมผ่านเสียงดนตรีที่ผู้ฟังรัก นอกจากนี้แล้ว ยังได้รับเกียรติจากนักแสดงเดี่ยวแดกึมโดย Sung Hyun SHIM ชาวเกาหลีใต้ผู้ได้รับรางวัลในระดับชาติ โดยปัจจุบันศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล (Seoul National University) โดยบรรเลงในบทประพันธ์เพลง อารีรัง บทประพันธ์ที่โด่งดังของประเทศเกาหลี ซึ่งมีรูปแบบดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และได้รับอิทธิพลจากกรุงโซล และชนพื้นเมือง กยุงกี ซึ่งแฝงอยู่บนสำเนียงพื้นบ้านผนวกกับท่วงทำนองที่ไพเราะและคุ้นหูของคนทั่วโลกโดยจะบรรเลงร่วมกับวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ชุดที่ 2 เฉลิม ฉลอง

Festive Overture (1954)
ดมิทริ ชอสตาโกวิช (1906-1975)
ดมิทริ ชอสตาโกวิช เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ชาญฉลาดและกล้าหาญมากที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 เนื่องด้วยสถานการณ์ที่ทำให้เขาต้องยืนหยัด
ภายใต้อำนาจการปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในเวลานั้นศิลปินสามารถถูกตัดสินลงโทษได้อย่างง่ายดาย เพียงเพราะการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสภาพการกดขี่ข่มเหงของรัฐ ศิลปินทั้งหลายถูกตีกรอบการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สอดคล้องกับหลักการของสตาลิน การละเมิดอาจนำไปสู่การลงโทษตั้งแต่จำคุกจนถึงประหารชีวิต นับแต่ โจเซฟ สตาลิน ถึงแก่กรรมในวันที่ 5 มีนาคม 1953 ชีวิตของศิลปินโซเวียตค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการควบคุมดังกล่าวได้ถูกผ่อนคลายลง The Festive Overture ถูกประพันธ์ขึ้นในปีถัดมาเมื่อชอสตาโกวิชได้รับการร้องขอให้ประพันธ์บทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราขนาดสั้น เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 37 ปี แห่งการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1917 ที่โรงละคร Bolshoi ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1954 การร้องขอดังกล่าวมาถึงเพียงสามวันก่อนการแสดงเนื่องจากวาทยากรตระหนักว่ายังขาดบทเพลงเปิดการแสดงที่เหมาะสม บทเพลงโหมโรงบทนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นอย่างเร่งด่วน The Festive Overture เป็นประพันธ์สั้นๆ ที่สดใสร่าเริง เต็มไปด้วยทำนองที่ตราตรึงใจและเสียงประสานที่เรียบง่าย เป็นตัวอย่างของการโฆษณาชวนเชื่อภายใต้การปกครองของโซเวียต ที่มุ่งเน้นการใช้รูปแบบทำนองและเสียงประสานที่เรียบง่ายเพื่อสะท้อนภาพความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตในแบบของโซเวียต

Nutcracker Suite, Op. 71a (1892)
ปีเตอร์ อีลิทซ์ ไชคอฟสกี (1840-1893)
บทประพันธ์ชุด Nutcracker เป็นชุดบทประพันธ์ที่เรียบเรียงขึ้นจากบัลเลย์เรื่อง The Nutcracker โดยปีเตอร์ อีลิทซ์ ไชคอฟสกี ซึ่งได้นำเค้าโครงมาจากวรรณกรรมเรื่อง “The Nutcracker and the King of Mice” ของ E.T.A. Hoffman เรื่องราวเกิดขึ้นในคืนวันคริสต์มาสเมื่อสาวน้อยคลาราหลับไปหลังงานเลี้ยงและฝันถึงโลกมหัศจรรย์ที่ของเล่นมีขนาดใหญ่โตเกินจริง Nutcracker ของขวัญชิ้นโปรดที่เธอได้รับจากคุณพ่ออุปถัมภ์กลับมีชีวิตและปกป้องเธอจากกองทัพหนูและราชาหนูเจ็ดหัว ไชคอฟสกีเรียบเรียงบทเพลงชุดนี้เสร็จเรียบร้อยและนำออกแสดงก่อนที่บัลเลย์ฉบับเต็มจะได้ถูกนำออกแสดงรอบปฐมทัศน์ในเดือนธันวาคม ปี 1892 ไชคอฟสกีเป็นผู้อำนวยเพลงชุดบทประพันธ์นี้ด้วยตนเองในวันที่ 19 มีนาคม 1892 ณ สาขาของสมาคมดนตรีเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
บทประพันธ์ชุดนี้ประกอบด้วย 8 ท่อน จัดเป็นกลุ่ม 3 กระบวนดังนี้
I. Miniature Overture
II. Danses caractéristiques
a. Marche
b. Dance of the Sugar Plum Fairy
c. Russian Dance
d. Arabian Dance
e. Chinese Dance
f. Reed-Flutes
III. Waltz of the Flowers

ชุดบทประพันธ์นี้เป็นที่นิยมในทันทีเกือบทุกท่อนของบทประพันธ์ได้รับการบรรเลงซ้ำในการออกแสดงรอบปฐมทัศน์ ชุดบทประพันธ์นี้เป็นชุดบทประพันธ์เดียวจากสามชุดบทประพันธ์ซึ่งเรียบเรียงมาจากบัลเลต์ที่ถูกรวบรวมและตีพิมพ์ในขณะที่ผู้ประพันธ์ยังมีชิวิตอยู่ ปัจจุบันบัลเลต์เรื่องนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงโดยเฉพาะในช่วงคริสต์มาส


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ชุดที่ 3 วัฒนธรรมแห่งความหลากหลาย

ราซา ซายัง
ราซา ซายัง ในภาษามาเลย์ หรือ ราซา ซายังเอ ในภาษาอินโดนีเซีย มีความหมายว่า อารมณ์แห่งความรัก เป็นเพลงพื้นเมืองมลายูที่นิยมขับร้องในประเทศมาเลเซีย
ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์ บทเพลงนี้มีรากฐานที่คล้ายคลึงกับเพลงพื้นบ้านมาเลย์โดยนำรูปแบบมาจากโครงกลอนพื้นบ้านปาตงของชนเผ่ามาเลย์ ในขณะเดียวกันอินโดนีเซียอ้างว่าเพลงนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบหมู่เกาะโมลุกกะ ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างอ้างความเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ ข้อโต้แย้งถึงขั้นวิกฤตเมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซียได้ใช้เพลงนี้ประกอบภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยว “Truly Asia” ของมาเลเซียเมื่อปี ค.ศ. 2007 ในปัจจุบันข้อโต้แย้งดังกล่าวได้ถูกระงับลงเมื่อทั้งสองฝ่ายบรรลุความเข้าร่วมกันว่าเพลงนี้เป็นสมบัติร่วมกันของประชาชนในภูมิภาคมลายู

จำปาพระตะบอง
จำปาพระตะบองเป็นหนึ่งในบทเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมากที่สุดบทเพลงหนึ่งของกัมพูชา ขับร้องโดย สิน สีสามุต นักร้องผู้เป็นตำนานของกัมพูชา
สิน สีสามุต ขับร้องและบันทึกเสียงบทเพลงนี้ในช่วงทศวรรษที่ 60 จำปาพระตะบองพรรณาถึงความเจ็บปวดจากการพลัดพรากและการเฝ้าคอยคนรัก สิน สีสามุต เป็นผู้ขับร้องและบันทึกเสียงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จนโรดมสีหนุ และยังได้ขับร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชาจำนวนหลายเรื่อง ในเดือนเมษายน ปี 1975 ท่านถูกบังคับให้อพยพออกจากกรุงพนมเปญพร้อมกับประชาชนชาวกรุงพนมเปญนับล้าน และถูกเขมรแดงสังหารในวันที่ 18 มิถุนายน 1976

ช้าง (ช้างๆ ๆ น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า)
คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง
บทเพลงช้างเป็นหนึ่งในบทเพลงร้องสำหรับเด็กที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
ประจำปีพุทธศักราช 2530 ประพันธ์บทเพลงนี้ให้แก่ รายการ “วิทยุโรงเรียน” เพื่อเป็นแบบฝึกหัดการขับร้องสำหรับเด็ก มีเนื้อร้องและทำนองที่เรียบง่ายและสนุกสนานทำนองของบทเพลงถูกปรับมาจากบทเพลงไทยเดิม “พม่าเขว” เพลง “ช้าง” ได้รับเกียรติคัดเลือกเป็นเพลงแห่งภาคพื้นเอเซีย
โดยศูนย์วัฒนธรรมเอเชีย องค์กรยูเนสโก องค์การสหประชาชาติ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ชุดที่ 4 ประเทศไทย ประเทศไท

กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
จากบทละครจากเนื้อเรื่อง “พระเจ้ากรุงธนบุรี” บทละครอิงประวัติศาสตร์สะท้อนภาพกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2310 แล้ว ได้มีมหาธีรราชเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
พลีพระวรกายและพระชนม์ชีพร่วมกับแม่ทัพนายกอง และบรรพชนผู้หาญกล้า ในเรื่องราวได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดยหลวงวิจิตรวาทการเมื่อปี พ.ศ. 2480 ในบทเพลง เนื้อร้องและทำนองที่มีการปลุกเร้าความรักชาติในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และบทเพลงนี้ยังคงตราตรึงกับผู้ฟังผ่านเสียงขับร้องบทเพลงรักชาติโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี บรรจุอยู่ใน 26 บทเพลงเอกจากละครของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ บรรเลงโดยวงดุริยางค์กรมศิลปากร

ต้นตระกูลไทย
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
เพลงปลุกใจ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เพื่อใช้เป็นบทเพลงประกอบละครเรื่อง “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เมื่อปี พ.ศ. 2497 บทเพลงต้นตระกูลไทยนี้ได้ที่รวบรวมบุคคลสำคัญที่ยอมสละชีพเพื่อชาติไทย เพื่อปลูกฝังให้คนไทยได้รู้และหวงแหนแผ่นดิน

King of Piece
วานิข โปตะวนิช
ประพันธ์โดย วานิช โปตะวานิช ศิลปินศิลปาธร บทเพลงได้รับแรงบันดาลใจที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงมอบความเจริญความสุขสงบในสังคมไทย ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ ทุกครั้งที่เกิดปัญหาหรือความขัดแย้ง พระองค์ทรงนำความสุขสงบกลับสู่ประเทศได้ทุกครั้ง ทรงหล่อหลอมดวงใจคนไทยทุกคนเข้าด้วยกัน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ชุดที่ 5 ฉลอง เฉลิม
(Celebrate Celebration)


Firebird Suite (1919) – Finale
อีกอร์ สตราวินสกี (1882-1971)
Firebird เป็นบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราประกอบการแสดงบัลเลต์โดย อีกอร์ สตราวินสกี คีตกวีชาวรัสเซีย สตราวินสกีประพันธ์บทเพลงนี้เพื่อกับคณะบัลเลต์ Ballets Russes ของ Sergei Diaghilev เพื่อจัดแสดง ณ กรุงปารีส ในปี 1910 Firebird เป็นนิทานพื้นบ้านของรัสเซีย บอกเล่าเรื่องราวชัยชนะและความกล้าหาญของนกวิเศษเหนืออำนาจชั่วร้าย การแสดงบัลเลต์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จในทันทีทั้งจากผู้ชมและนักวิจารณ์เมื่อถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 มิถุนายน 1910 นอกเหนือจากการแสดงเต็มรูปแบบ สำหรับบัลเลต์และวงออร์เคสตราขนาดใหญ่แล้วสตราวินสกีได้เรียบเรียงชุดบทเพลงเพื่อใช้ในการบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราขนาดเล็กอีก 3 ชุด ในปี 1911, 1919, และ 1945 ชุดบทเพลงที่ประพันธ์ในปี 1919 เป็นชุดที่ได้รับความนิยมและถูกนำออกแสดงบ่อยครั้งมากที่สุด



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ACT 1
BANG YI KHAN AND SEROTONIN DRUM CLUB


Princess Galyani Vadhana Institute of Music, in collaboration with Serotonin Drum Club, Korea, launched the drum project in 2014 with the aim to develop youngsters in Bang Yi Khan neighborhood in their creativity and self-esteem through music. In this concert, students from Bawornmongkol School, will be performing their own version of drum piece as the overture to the concert. Follow by Korean’s most famous tune, Arirang, with its sweet and sorrowful melody, expresses of lost love. In this performance, Sung Hyun SHIM (Daegeum & Sogeum) from Seoul National University, a prize winner of Nangye competition of Korean traditional music and a member of Seoul Metropolitan Youth Traditional Music Ensemble, will be performing with our youth orchestra.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ACT 2
FESTIVE FESTIVAL


Festive Overture (1954)
Dmitri Shostakovich (1906-1975)
Dmitri Shostakovich is one of the most ingenious and courageous composers of the 20th century due to the circumstances he had to endure under the reign of Joseph Stalin. At the time, creative artists could be simply persecuted for being outspoken about the oppressive conditions. All artistic works were expected to be created in accordance with the Stalin’s principles in which any violation could lead to imprisonment or death penalty. Josef Stalin died on 5th March 1953, and the life of Soviet artists began to change since the tight controls were gradually relaxed. The Festive Overture was written in the following year as Shostakovich received an unexpected request to write a short orchestral piece for celebrating the 37th anniversary of the 1917 October Revolution at the Bolshoi Theatre on 6 November 1954. The request came just three days before the concert as the conductor realized they lacked a suitable opening piece, thus the work was written in an astonishing speed. The Festive Overture is a short but brilliant and exuberance work filled with catchy melodies and straightforward harmony, it is a perfect example of the Socialist regime’s propaganda for simple tunes and simple harmony reflecting the good fortune of life in the Soviet idyll.

Nutcracker Suite, Op. 71a (1892)
Pyotr Ilyich Tchaikovsky (1840-1893)
The Nutcracker Suite Op.71a is a suite extracted from the ballet The Nutcracker by Tchaikovsky. Its story based on “The Nutcracker and the King of Mice” written by E.T.A. Hoffman. The story took place on Christmas Eve, young Clara falls asleep after a party and dreams herself into a fantastic world where toys become larger than life. Her beloved toy Nutcracker, a present from her godfather, comes to life and defends her from the army of mice and the Mouse King with seven heads.

Tchaikovsky made a selection from the ballet before the ballet’s December 1892 première. The suite was first performed, under the composer’s direction, on 19th March 1892 at an assembly of the St. Petersburg branch of the Musical Society.
The Suite consists of eight numbers, grouped in three movements:
I. Miniature Overture
II. Danses caractéristiques
a) March
b) Dance of the Sugar Plum Fairy
c) Russian Dance
d) Arabian Dance
e) Chinese Dance
f) Reed-Flutes
III. Waltz of the Flowers

The suite became instantly popular, with almost every number encored at its première. It was the only one of his three ballet suites
to have been compiled and published during the composer’s lifetime. At present, the ballet has enjoyed enormous popularity primarily during the Christmas season.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ACT 3
VIBRANT ASEAN


Rasa Sayang
“Rasa Sayang” in Malay or “Rasa Sayange” in Indonesia, literally means “loving feeling”, is a Malay folk song popular in Indonesia, Malaysia and Singapore. The basis of “Rasa Sayang” is similar to Malay folk songs, taken their form the traditional ethnic Malay poetic “pantun”. Yet, some in Indonesia have claimed that the song originated in the Maluku Islands. Both Malaysia and Indonesia claim ownership of this cultural heritage. Controversy over the song’s provenance reach a crisis when the Malaysian Tourism Board released the Rasa Sayang Commercial, an advertisement used as part of Malaysia’s “Truly Asia” tourism campaign in 2007. At present, a long-standing controversy finally settled down, a mutual understanding has been reached that the song belongs to people of Nusantara.

Cham Pa Pra Ta Bong
Cham Pa Pra Ta Bong was one of the best loved and most popular Cambodia songs sung by Sinn Sinsamouth, a legendary renowned Cambodian singer. Sinn Sinsamouth sang and recorded this song during the 1960s, it describes the pain of separation and anticipation of the loved one. Sinn Sinsamouth also sang and recorded songs of the King of Cambodia and sang in several famous Cambodian movies. In April 1975, Sinn Sinsamouth, along with millions people, were forced to leave Phnom Penh and killed by Khmer Rouge army on 18th June 1976.

Chang “Elephants” (Have you ever seen elephants?)
Khunying Chin Silapabanleng
The song “Chang”, literally mean elephant in Thai, is one of the most popular children songs of Thailand. Khunying Chin Silapabanleng, Thai national artist in performing arts (Thai music) of 1987, composed this song for school radio programme as a lesson for children to sing. The lyrics and melody are easy and cheerful. The melody was adapted from Thai traditional music called “Bhama Kwae”. The song “Chang” has been honorably selected as “Song of Asia” by the Asia-Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU), United Nation.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ACT 4
CELEBRATING THAI


Krung Sri Ayutthaya and Ton Tra Kul Thai
Major-General Luang Wichitwathakan
Arranged by Wiwat Sutiyam
From the music theatre by Major-General Luang Wichitwathakan ‘Phra Jao Krung Thonburi’, a historical
plays which tells the story of Ayutthaya in its declining era. Through those difficult time, King Thonburi, with the bravery of his soldiers, rescue the country, and establish Thonburi Kingdom.

King of Piece
Composed by Vanich Potavanich
King of Peace, is inspired by the composer’s reverence for the gracefulness of King Rama IX, who brings peace and harmony to Thai society.
His love and care towards his people leads him to devote himself, even in personal sacrifice, to relieve the suffering of his people. All the time of conflicts, he leads us to the peaceful solutions and restores light and balance to the nation. Through his wisdom and unlimited love, he has united the hearts of all Thai people as one, and thus, the composer conveys his greatness in this composition.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ACT 5
CELEBRATE CELEBRATION


Firebird Suite (1919) – Finale
Igor Stravinsky
The Firebird is originally a ballet and orchestral concert work by the Russian composer Igor Stravinsky, written for 1910 Paris season of Sergei Diaghilev’s Ballets Russes Company. Its story is based on Russian folk tales of the magical bird and its heroic triumph over evil. The ballet was an instant success with both audiences and critics after its premiere on 25th June 1910. Besides the complete ballet score for large orchestra, there are three major versions of the music that Stravinsky arranged in 1911, 1919 and 1945 for concert performance by a smaller orchestra. The 1919 suite, known as “Concert Suite for Orchestra No. 2, remains the most well-known and often played.
The suite consists of five numbers: 1) Introduction—The Firebird and its dance - The Firebird’s variation 2) The Princesses’ Khorovod 3) Infernal dance of King Kashchei 4) Berceuse (Lullaby) and 5) Finale.

Conductor: Vanich Potavanich
Vocal: Santi Lunphe
Sunday 21st December 2014 / 5.30 p.m. at Rama VIII Park