2nd CONCERT SEASON: THE BALLET AND THE TALE
Pulcinella Suite (1922)
Igor Stravinsky, 1882-1970
อีกอร์ สตราวินสกีคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดที่ Oranienbaum ปัจจุบันคือเมือง Lomonosov ใกล้ St Petersburg เมื่อวันที่ 5/17 มิถุนายน 1882
สตราวินสกีเป็นหนึ่งในคีตกวีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 สตราวินสกีทดลองใช้แทบทุกเทคนิคในการประพันธ์ดนตรีของศตวรรษที่ 20 ผนวกเข้ากับรูปแบบและการตีความซึ่งเป็นของตัวเอง นับแต่ neo-nationalism และ neo-classicism ตลอดจนถึง serialism สตราวินสกีมาจากตระกูลขุนนางเก่า แม่ของเขา Anna Kholodovskaya เป็นบุตรสาวของข้าราชการชั้นสูงใน Ministry of Estates แห่งเมือง Kiev และยังเป็นนักร้องและนักเปียโนฝีมือดีพ่อของเขา Fyodor Ignat'yevich Stravinsky เป็นทายาทของตระกูลขุนนางชั้นสูงจากโปแลนด์ แต่นับจากการแบ่งแยกประเทศโปแลนด์ในช่วงปี1790 ครอบครัวสตราวินสกีสูญเสียที่ดินทั้งหมดและอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเบลารุส
ในปี 1899 สตราวินสกีเริ่มเรียนเปียโนกับ Leokadiya Kashperova ศิษย์ของ Anton Rubinstein ต่อมาในปี 1901 สตราวินสกีเข้าเรียนกฏหมาย
ที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ด้วยความตั้งใจที่แท้จริงของสตราวินสกีคือการศึกษาดนตรีในช่วงนี้สตราวินสกีเริ่มศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสานและการสอดประสานแนวทำนองเป็นการส่วนตัวกับ Fedir Akimenko และ Vasily Kalafaty ทั้งคู่เป็นศิษย์ของ ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ที่คณะนิติศาสตร์ สตราวินสกีได้พบและเป็นเพื่อนกับ วลาดิเมียร์ริมสกี-คอร์ซาคอฟ บุตรชายคนเล็กของโคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ในเดือนสิงหาคมปี1902 สตราวินสกีได้พักอยู่กับครอบครัวริมสกี-คอร์ซาคอฟ และได้พบกับนิโคไล อีกทั้งได้นำเสนอผลงานการประพันธ์ของเขา ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ดูเหมือนจะไม่ประทับใจในผลงานของสตราวินสกีเป็นพิเศษ ริมสกี-คอร์ซาคอฟไม่ได้สนับสนุนให้เขาเข้าเรียนต่อในสถาบันดนตรีเนื่องด้วยอายุและขาดประสบการณ์ในการประพันธ์ อย่างไรก็ดีริมสกี-คอร์ซาคอฟ เห็นว่าสตราวินสกีควรได้ศึกษาทฤษฎีดนตรีต่อไป และตัวเขายินดีที่จะให้คำปรึกษาด้านการประพันธ์ให้แก่สตราวินสกีด้วยตัวเอง
ภายหลังจากเหตุการณ์นองเลือดในวันอาทิตย์ปี 1905 ซึ่งผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบถูกยิงเข้าใส่และประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 100 คน มหาวิทยาลัยปิดตัวลงเป็นการชั่วคราว เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้สตราวินสกีไม่ได้เข้ารับการสอบไล่ตามหลักสูตร สตราวินสกีไม่ได้กลับไปเรียนต่อและไม่สำเร็จการศึกษา (ในเดือนเมษายนปี 1906 สตราวินสกีได้รับประกาศนียบัตรของการศึกษาครึ่งหลักสูตร) ในทางกลับกันสตราวินสกีทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนดนตรีอย่างจริงจัง เขาเรียนดนตรีเป็นการส่วนตัวกับริมสกี-คอร์ซาคอฟจนกระทั้งริมสกี-คอร์ซาคอฟเสียชีวิตในปี 1908 สตราวินสกีให้ความเคารพริมสกี-คอร์ซาคอฟเสมือนพ่อคนที่สองของเขา
ในปี 1909 Sergei Diaghilev ผู้อำนวยการแสดงบัลเลย์และผู้ก่อตั้ง Ballets Russes ได้เข้าชมการแสดงดนตรีในเมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งผลงานการประพันธ์ Scherzo fantastique และ Feu d'artifice (Fireworks) ถูกนำออกแสดง Diaghilev ประทับใจ Fireworks เป็นอย่างมาก และได้นำไปสู่ว่าจ้างประพันธ์ดนตรีสำหรับการแสดงบัลเลย์อย่างเต็มรูปแบบเรื่อง The Firebird ซึ่งได้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ในวันที่ 25 มิถุนายน 1910 พร้อมด้วยความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง สตราวินสกีได้ประพันธ์ดนตรีประกอบการแสดงบัลเลย์ให้กับคณะ Ballets Russes อีกหลายเรื่องอาทิ Petrushka ในปี 1911 Le Sacre du printemps หรือ The Rite of Spring ในปี 1913 Pulcinella ในปี 1920 และ Les Noces ในปี 1923
Pulcinella ของสตราวินสกีเป็นตัวละครดั้งเดิมจาก commedia dell'arte ของเนเปิล ในช่วงศตวรรษที่ 17 Pulcinella เป็นที่รู้จักในชื่อ Punch หรือ Punchinello ในภาษาอังกฤษ มักปรากฏตัวในชุดสีขาวพร้อมกับหน้ากากสีดำ ในบัลเลย์ของสตราวินสกีPulcinella เป็นที่หลงไหลของเหล่าหญิงสาวชาวบ้าน บรรดาชายคนรักของหญิงสาวเหล่านั้นโกรธแค้นและวางแผนที่จะกำจัด Pulcinella ทิ้งเสีย แต่ Pulcinella ใช้ความเฉลียวฉลาดในการหลอกล่อและสลับตัว เมื่อชายหนุ่มคนรักทั้งหลายกลับมาเขาได้จัดงานแต่งงานให้กับคู่รักทั้งหมด ส่วนตัวเขาเองได้แต่งงานกับ Pimpinella และเรื่องราวจบลงอย่างมีความสุข
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1919 Diaghilev เสนอใหสตราวินสกีประพันธ์ดนตรีสำหรับบัลเลย์โดยใช้ดนตรีจากกลางศตวรรษที่ 18 โดยคีตกวีชาวอิตาลีโจวันนีบัตติสตา แปร์โกเลซี (1710-1736) ซึ่งตัวเขาและ Leonid Massine ค้นพบในห้องสมุดของสถาบันดนตรีแห่งเมืองเนเปิลส์ บทประพันธ์ดั้งเดิมถูกเขียนขึ้นสำหรับเครื่องเดี่ยวและวงดนตรีขนาดเล็กตั้งแต่ ทริโอโซนาตาและบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราจนถึงบทประพันธ์จากอุปรากรการศึกษาในภายหลังพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของบทประพันธ์ชุดนี้ไม่ได้เป็นบทประพันธ์ของแปร์โกเลซีแต่เป็นบทประพันธ์ของคีตกวีที่ถูกลืมเลือนไปในศตวรรษที่ 18 อาทิDomenico Gallo คีตกวีชาวเวนิส Count van Wassenaer นักการฑูตชาวดัทช์และ Carlo Ignazio Monza บาทหลวงชาวมิลาน ในตอนแรกสตราวินสกีไม่เต็มใจที่จะตอบตกลงเนื่องจากตัวเขาเองไม่มีความสนใจในดนตรีของแปร์โกเลซีเท่าไรนัก แต่เมื่อสตราวินสกีได้เห็นต้นฉบับลายมือของบทเพลงชุดนี้เขาเปลี่ยนใจและตอบรับข้อเสนอของ Diaghilev
Pulcinella ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ Paris Opera House เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 1920 ฉากและเครื่องแต่งกายได้รับการออกแบบโดย Pablo Picasso และออกแบบท่าเต้นโดย Léonide Massine การร่วมมือของศิลปินเอกในการแสดงครั้งแรกประสบกับความสำเร็จอย่างสูง สตราวินสกีได้กล่าวว่า Pulcinella เป็นหนึ่งในผลงานที่ทุก ๆ สิ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์ประกอบทั้งหลายทั้งเนื้อเรื่อง ดนตรีการเต้น และงานศิลป์ เชื่อมโยงสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว
Pulcinella เป็นผลงานที่มีความเรียบง่ายแตกต่างจากงานชิ้นก่อนหน้านี้ที่ส่วนใหญ่กำหนดให้ใช้วงดุริยางค์ซิมโฟนีขนาดใหญ่ บทประพันธ์ดั้งเดิมประกอบด้วย นักร้องเดี่ยวโซปราโน เทเนอร์และเบส วงออร์เคสตราประกอบด้วย ฟลู้ท (2) โอโบ (2) บาสซูน (2) ฮอร์น (2) ทรัมเปท ทรอมโบน เมเนอร์ทรอมโบน เบสทรอมโบน กลุ่มเครื่องสายเดี่ยวห้าเครื่อง และกลุ่มเครื่องสายสำหรับวงออร์เคสตรา Pulcinella ถูกสร้างขึ้นจากพื้นฐานของดนตรีในศตวรรษที่ 18 สตราวินสกีคงแนวทำนองและแนวเบสของแปร์โกเลซีและสร้างสรรค์แนวประสานภายในดัดแปลงจังหวะ และสีสันของเสียงในแบบของเขาเอง สตราวินสกีกล่าวว่าสิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับ Pulcinella ไม่ได้อยู่ที่บทประพันธ์ถูกแต่งเติมและดัดแปลงมากเพียงใด แต่อยู่ที่บทประพันธ์ถูกแต่งเติมและดัดแปลงน้อยเพียงใด Pulcinella ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นแรกในสไตล์ของ Neo-Classic ซึ่งเป็นตัวแทนการต่อต้านรูปแบบของดนตรีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีความยาวและแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินจริง และปราศจากรูปแบบที่ชัดเจน Neo-Classicism มีอิทธิพลต่อรูปแบบการประพันธ์ดนตรีของสตราวินสกีในอีกหลายทศวรรษต่อมา
สตราวินสกีได้ดัดแปลงบัลเลย์บทนี้เป็นบทเพลงชุดสำหรับการแสดงดนตรีโดยใช้วงเชมเบอร์ออร์เคสตราเช่นเดียวกับบัลเลย์บทเพลงชุดประกอบด้วย 8 กระบวนจาก 20 กระบวนดั้งเดิมในบัลเลย์และแนวขับร้องเดี่ยวได้ถูกตัดทอนออกไป สตราวินสกีประพันธ์บทเพลงชุดเสร็จในปี1922 และได้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 ธันวาคม 1922 โดยวงบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา ในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
Igor Stravinsky, Russian composer, was born in Oranienbaum (now Lomonosov), near
St Petersburg on 5/17 June 1882.
Stravinsky is one of the most influential composers of the
20th century. Stravinsky experimented on almost every styles of music in the 20th century with his
personal styles and interpretations, ranging from the neo-nationalism and the neo-classicism, through
to the serialism. Stravinsky came from a noble family. His mother, Anna Kholodovskaya, was a daughter
of a high-ranking official in the Ministry of Estates in Kiev and also a fine domestic singer and pianist.
His father, Fyodor Ignat'yevich Stravinsky, descended from the Polish grandees, senators and
landowners. But since the partition of Poland in the 1790s the Stravinskys had lost their lands and
gradually migrated into a remote region of what is now south-eastern Belarus'.
In December 1899, he began piano lesson with Leokadiya Kashperova, a pupil of Anton
Rubinstein.
In 1901, Stravinsky entered St Petersburg University as a law student. Since his real wish
was to study music, he started private lessons in harmony and counterpoint with Fedir Akimenko and
Vasily Kalafaty both former students of Rimsky-Korsakov. At the law faculty Stravinsky met and
befriended Vladimir Rimsky-Korsakov, Nikolai Rimsky-Korsakov’s youngest son. In August 1902,
Igor stayed with Rimsky-Korsakov family where he met the composer and introduced his portfolio of
short pieces. Rimsky-Korsakov may not seem to be wildly impressed by his works. Rimsky-Korsakov
did not advise him entering the Conservatory due to his age and lack of training, but insisted that
Stravinsky continue his theory lessons, and agreed to oversee his compositions himself.
After the Bloody Sunday in 1905, when a peaceful demonstration of workers were fired upon
and more than 100 were killed, the university was temporary closed. The incident prevented Stravinsky
from taking his final law examinations. He never return to the university nor graduate, later in April
1906 he received a half-course diploma. Instead, Stravinsky began to concentrate on studying music,
he took private lessons with Rimsky-Korsakov and continued until the composer’s death in 1908.
Stravinsky regarded Rimsky-Korsakov as his second father.
In 1909, Sergei Diaghilev, a Russian ballet impresario and founder of the Ballets Russes,
attended a concert in Saint Petersburg
where Stravinsky’s Scherzo fantastique and Feu d'artifice
(Fireworks) were introduced. Diaghilev was deeply impressed by Fireworks and thus commissioned a
full-length ballet score, The Firebird. The work had its premiere in Paris on 25 June 1910 with great
success. Stravinsky composed further works for the Ballets Russes including Petrushka in 1911, and
Le Sacre du printemps (The Rite of Spring) in 1913, Pulcinella in 1920 and Les Noces in 1923.
Stravinsky’s Pulcinella is based on a traditional character originated in the Neapolitan
commedia dell'arte of the 17th century. Pulcinella, also known as Punch or Punchinello in English,
always dressed in white with a black mask. In the ballet, Pulcinella has captured the hearts of all the
local girls. Enraged, their fiancés plot to kill him, but he outwits them and substitutes a double. When
the young men return, Pulcinella arranges marriages for everyone, and himself weds Pimpinella to
produce the requisite happy ending.
In the spring of 1919, Diaghilev proposed that Stravinsky write a ballet based on some of
music dating from the middle of the eighteenth-century by the Italian composer Giovanni Battista
Pergolesi (1710-1736) that he and Leonid Massine had discovered from the library at Naples
Conservatory. Theoriginal pieces were written for various soloinstruments and smallensembles ranging
from trio sonatas and assorted orchestral works to operatic selections. (Later research has discovered
that more than half of the pieces were not in fact by Pergolesi, but most of the pieces were written by
some of the long forgotten eighteenth-century composers, including the Venetian Domenico Gallo;
Count van Wassenaer, a Dutch diplomat; and Carlo Ignazio Monza, a Milanese priest.) At first Stravinsky
was reluctant, not being particularly fond of the Pergolesi, but as Diaghilev showed him the
manuscripts, he changed his mind and agreed to the idea.
The ballet was premiered at the Paris Opera House on 15 May 1920. The scenery and
costumes were designed by Pablo Picasso with the choreography by Léonide Massine. This dream
collaboration of the first production had met with great success. The composer reported that Pulcinella
was "one of those productions, where everything harmonizes, where all the elements - subject, music,
dancing, and artistic setting - form a coherent and homogeneous whole."
Pulcinella is relatively simple and sparse unlike his earlier ballets which required a colossal
symphony orchestra. The original score calls for soprano, tenor, and bass soloists, with an orchestra
of two flutes, two oboes, two bassoons, two horns, trumpet, trombone, tenor and bass trombone,
a quintet of solo strings, and orchestral strings. Pulcinella is based closely on music of the
eighteenth-century. Stravinsky left Pergolesi's melodies and bass lines principally unchanged, and
then created the inner harmonies, the modified rhythms and the sonorities of his own. Stravinsky later
stated that “The remarkable thing about Pulcinella is not how much but how little has been added or
changed." Pulcinella is regarded as one of the first masterpieces of Neo-Classical style, which
represented a reaction against the excessive length, exaggerated emotions and obscure forms of the
late nineteenth-century music. The “Neo-Classicism” dominate his compositional style for several
decades.
Stravinsky later turned the ballet into a concert suite, scored for the same chamber orchestra
as the ballet. The suite contains eight out of the original twenty movements, and the vocal solos were
omitted. Stravinsky completed the score for this suite in 1922, and later revised the work again in 1949.
The first performance was given on 22 December 1922 by the Boston Symphony Orchestra in Boston,
USA.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Frankenstein!! (1976-77)
Heinz Karl Gruber (1943 - Present)
ไฮนซ์คาล กรูเบอร์คีตกวีวาทยากร นักขับร้อง และนักดับเบิลเบส ชาวออสเตรีย เกิดที่เวียนนา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 1943 ในวัยเด็กกรูเบอร์ขับร้องในวง Vienna Boys' Choir จากนั้นได้ศึกษา ดับเบิลเบส ดนตรีอิเลคทรอนิคและภาพยนตร์การเต้นรำ การประพันธ์และทฤษฎีแถวโน้ตสิบสองตัวที่ Vienna Hochschule für Musik กรูเบอร์ได้แสดงและบันทึกเสียงในฐานะนักขับร้องให้กับบทประพันธ์ของ Kurt Weill, Hanns Eisler, Schoenberg (Pierrot Lunaire) และ Maxwell Davie (Eight Songs for a Mad King) กรูเบอร์อำนวยเพลงวง Vienna Philharmonic, Mahler Chamber Orchestra และ Leipzig Gewandhaus Orchestra งานประพันธ์ของเขาถูกนำออกแสดงโดยวงออร์เคสตราชั้นนำของโลกรวมถึง Vienna Philharmonic, New York Philharmonic, Berlin Philharmonic, Lucerne Festival, Carnegie Hall, BBC Proms และ Zurich Opera กรูเบอร์เป็นบุคคลสำคัญวงการดนตรีร่วมสมัย ในปี2009 กรูเบอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นคีตกวีและวาทยากรของ BBC Philharmonic และสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ Vienna Konzerthaus
Frankenstein!! เป็นบทเพลงชุดสำหรับการขับร้องและการคลอโดยวงออร์เคสตรา มีชื่อรองว่า “A Pandemonium for chansonnier and orchestra after children’s rhymes by H. C. Artmann.” บทร้องนำมาจากงานเขียนของ Artmann - Allerleirausch: neue schöne Kinderreime (เสียงรบกวน เสียงรบกวน มีอยู่ทั่วไป: บทกวีใหม่ที่สวยงามสำหรับเด็ก) เนื้อหาของบทกวีไม่ได้จำกัดอยู่เพียง Frankenstein เท่านั้นแต่ยังมีแวมไพร์และอสูรกายอื่น และรวมถึงตัวแสดงที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันเช่น แบทแมนและโรบิน ซูเปอร์แมน จอห์น เวย์ เจมส์บอนด์ และ โกลด์ฟิงเกอร์ เมื่อมองอย่างผิวเผินเนื้อหาของบทประพันธ์ดูเหมือนจะมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงส าหรับเด็ก แต่ในขณะเดียวกันบทประพันธ์นี้แฝงไปด้วยนัยยะทางการเมือง Frankenstein!! ของกรูเบอร์เป็นการแสดงจุดยืนต่อต้านกลุ่มคีตกวีดนตรีไร้ศูนย์เสียงซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางด้านดนตรีของเยอรมันนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การเรียบเรียงเครื่องดนตรีของกรูเบอร์และเสียงประกอบมีความสัมพันธ์กับการ์ตูนของ Warner Brothers
เครื่องดนตรีของเล่นถูกใช้ควบคู่ไปกับเครื่องดนตรีแบบดั้งเดิม กรูเบอร์มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผู้แสดงและเครื่องดนตรี
ที่ใช้ดังนี้
ผู้แสดง:
ทำหน้าตาย ไม่หัวเราะ ไม่ยิ้ม
ผู้ขับร้อง:
ต้องการความยืดหยุ่นอย่างสูงสุด ผู้ขับร้องต้องมีความสามารถในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดและการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น จากเสียงกรีดร้องเป็นเสียงหลบจากเสียงกระซิบเป็นเสียงร้องในแบบอุปรากรอย่างเกินจริง จากการร้องแบบเพลงร้องศิลป์เป็นการร้องเล่นๆ เช่น การร้องในห้องน้ำ การควบคุมลักษณะเสียงควรเป็นไปอย่างเป็นมิตร แต่มีความแม่นยำและชัดเจน เน้นการสร้างคำโดยเลียนเสียงธรรมชาตินักร้องต้องไม่พยายามใช้วิธีการร้องเสนาะ อนุญาตให้มีการยืดหยุ่นจังหวะตามรสนิยม การแสดงท่าทางควรเป็นไปอย่างเท่าที่จำเป็น เน้นการแสดงอารมณ์ผ่านทางสีหน้า ผู้แสดงนำเล่น siren horn, kazoo, soprano melodica และ two swanee whistles
เครื่องดนตรีของเล่น
1. มีให้เช่าพร้อมกับอุปกรณ์การแสดง
2. เล่นคู่ไปกับเครื่องดนตรีของวงออร์เคสตราดังที่ได้ระบุไว้ถ้าไม่ให้เล่นโดยวงของเด็ก
3. เครื่องดนตรีทั้งหมดควรมีสีสันสดใส เมื่อโอกาสอำนวยถือเครื่องสูงเพื่อให้ผู้ฟังมองเห็น
1 แตรรถยนต์
แตรรถเก่าดั้งเดิมผลิตจากปี 1910 ควรมีขนาดใหญ่ เสียงลึก แผดดัง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแตรของเล่น
1 แตรรถยนต์ของเล่น
ขนาดเล็กเลียนแบบแตรที่ได้กล่าวถึงข้างต้น เสียงแหลมเล็ก
1 เปียโนของเล่น (หรือ Keyed Glockenspiel)
เป็นเครื่องดนตรีขนาดเล็กจำลองแกรนด์เปียโน ซึ่งมีค้อนเล็กๆ ตีลงบนแท่งโลหะ เมื่อคีย์ถูกกดลง เสียงของโน้ตมีความ
เพี้ยน เสียงที่สูงขึ้น 1 ใน 5 สามารถได้ยินอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับ Quint organ stop มีช่วงเสียงโครมาติกระหว่าง
F1 ถึง G3
เปียโนของเล่นแบบมีแท่งโลหะหาได้ยากในปัจจุบัน ปัจจุบันไม่มีให้เช่าได้อีกต่อไป สามารถใช้ Chromatic
Keyed Glockenspiel แทนและให้เล่นอย่างไม่เป็นระเบียบ โดยให้มีโน้ตผิดบ้างที่นั่นที่นี่ ตัวอย่างเช่นเพิ่มขึ้นคู่สอง
เมเจอร์
งานชิ้นนี้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกโดยวง Royal Liverpool Philharmonic Orchestra มีกรูเบอร์เป็น
ผู้ขับร้องด้วยตนเอง
ภายใต้การอำนวยเพลงของ Simon Rattle เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 1978 นับแต่นั้นมา
Frankenstein!! ถูกนำออกแสดงทั่วโลกโดยกรูเบอร์มักมีส่วนร่วมในการจัดแสดง Frankenstein!! เป็นหนึ่งในผลงาน
ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา
Heinz Karl Gruber, an Austrian composer, conductor, chansonnier and double bassist, was
born in Vienna on 3 Jan 1943. He sang in the Vienna Boys' Choir as a child. He studied the double
bass, the horn, electronic and film music, dance, composition and 12-tone theory at the Vienna
Hochschule für Musik. Gruber has performed and recorded as Chansonnier in the works of Kurt Weill,
Hanns Eisler, Schoenberg (Pierrot Lunaire) and Maxwell Davie (Eight Songs for a Mad King). He regularly
conducts the Vienna Philharmonic, the Mahler Chamber Orchestra and the Leipzig Gewandhaus
Orchestra. His compositions have been performed by the world’s leading orchestras, including the
Vienna Philharmonic, New York Philharmonic, Berlin Philharmonic, Lucerne Festival, Carnegie Hall, BBC
Proms and Zurich Opera. Gruber is a leading figure in contemporary music. In 2009, he was appointed
composer/conductor in residence with the BBC Philharmonic and an honorary member of the Vienna
Konzerthaus.
Frankenstein!! is a suite of recited texts with orchestral accompaniment. It is subtitled
“A Pandemonium for chansonnier and orchestra after children’s rhymes by H. C. Artmann.” The texts
derived from Artmann’s book Allerleirausch: neue schöne Kinderreime (noises, noises, all around:
lovely new children’s rhymes). The subjects include not only Frankenstein but also vampires and a
variety of monsters, as well as modern day icons such as Batman and Robin, Superman, John Wayne,
James Bond, and Goldfinger. On the surface, the texts may seem to aim at children but undoubtedly
it conceals political statements. Gruber’s Frankenstein!! stands as opponent to the extreme group of
atonal composers who dominated musical thinking in Germany after the Second World War.
Gruber’s instrumentation and sound effects generally associated with Warner Brothers
cartoons. Toy instruments were used along with the traditional ones. Gruber gave his own instructions
on the performers and instruments.
To all performers: Keep pokerfaced No laughing, no grinning!
Chansonnier:
The utmost flexibility is called for. The soloist must be capable of effecting sudden and complete
changes: for instance, from shrieking to falsetto, from whispering to exaggerate operatic singing, from
normal Lieder sing to domestic singing (as in the bath). Articulation should be friendly, but very precise
and distinct, emphasising onomatopoeia; the singer must never resort to bel canto. Some ad lib.
Off-beat singing is permissible, according to taste. Visually, gesticulation should be extremely
economical and the main emphasis should be on facial expression.
The soloist also plays the siren horn, kazoo, soprano melodica and two swanee whistles.
Toy Instruments
- supplied on hire with the performance materials
- doubling orchestral instruments as indicated above, or else played by a children’s
ensemble, for instance
- All instruments should be very colourful and, wherever possible, held high to be visible
to the audience.
1 Motor Horn
original veteran car horn of c.1910 vintage. Should be large with a deep, The notes were not precisely
in tuneand a fifth abovethe note played could clearly be heard, as with a Quint organ stop. A chromatic
range from F1 to G3 is required. Loud honking sound, to contrast with the Toy Motor Horn.
1 Toy Motor Horn
Small imitation of above making a squeaking sound.
1 Toy Piano (or Keyed Glockenspiel)
The instrument originally envisaged was a miniature imitation grand piano in which tiny hammers
struck metal rods when the keys were depresses.
A Toy Piano with metal rods is very difficult to find nowadays, and we can no longer supply
it on hire.
It may be replaced with a chromatic Keyed Glockenspiel which should be played in a
somewhat sloppy fashion, with afew “wrong notes” here and there, e.g. adding major or minor seconds
to the melody notes. This is a standard percussion instrument and is not supplied with the set of toy
instruments. (Note: Neither an electronic Toy Piano nor a Celesta are suitable as substitutes.)
Loud honking sound, to contrast with the Toy Motor Horn.
The work received its première performance by the Royal Liverpool Philharmonic Orchestra
with Gruber himself as chansonnier under Simon Rattle on 25 November 1978. Since then,
Frankenstein!! has been performed around the world, usually with Gruber's participation.
Frankenstein!! is one of Gruber’s most popular works.
Chansonnier: Pitchaya Kemasingki
Sunday 15th February 2015 / 4.00 p.m.
At Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music