2nd CONCERT SEASON PYO SHOWCASE: STRINGS AND PERCUSSION
Serenade in D Major “Serenata Notturna” KV.239
Wolfgang Amadeus Mozart (1756-1791)
I. Marcia (Maestoso)
II. Minuetto
III. Rondeau (Allegretto)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ท คีตกวีชาวออสเตรีย เป็นบุตรของ เลโอโพลด์ โมสาร์ท เกิดที่เมืองซาลซ์บูร์ก
เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1756
โมสาร์ทเป็นเด็กอัจฉริยะที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก
ความเป็นอัจฉริยภาพของโมสาร์ทเริ่มปรากฎตั้งแต่ในวัยเด็กและเปล่งประกายอย่างต่อเนื่อง เลโอโพลด์ บิดาของโมสาร์ทเป็นทั้งครูและนักไวโอลินฝีมือดี ที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านดนตรีของบุตรชาย เลโอโพลด์อุทิศชีวิตของเขาเพื่อความสำเร็จของโมสาร์ท เมื่อโมสาร์ทอายุได้หกปีพ่อได้พาเขาออกแสดงความสามารถในหลายประเทศของยุโรป ระหว่างการเดินทางโมสาร์ทได้ซึมซับความหลากหลายของดนตรีทั้งจากประเทศอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ และอิตาลี ดนตรีของโมสาร์ทเป็นผลจากการผสมผสานดนตรีหลากหลายสไตล์ ความเข้มข้นของเสียงประสาน รูปพรรณดนตรี และรูปแบบที่เป็นทางการของโมสาร์ทมีรากฐานจากวัฒนธรรมดนตรีบรรเลงของ
เยอรมัน ในขณะที่ความงดงามของแนวทำนองมาจากอุปรากรอิตาเลียน โมสาร์ทประพันธ์ดนตรีแทบทุกรูปแบบที่เป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้น โมสาร์ทเป็นนักประพันธ์ที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างสูงในโลกของดนตรีตะวันตก ไม่เพียงเพราะจำนวนและความหลากหลายของผลงานแต่เป็นเพราะความคิดสร้างสรรค์และความงดงามของดนตรีที่โมสาร์ทได้สรรสร้างไว้
ดิแวร์ติเมนโต เซเรเนด และ นอคเทิร์น เป็นประเภทของบทประพันธ์ที่โมสาร์ทชื่นชอบ บทประพันธ์ในกลุ่มนี้เป็นดนตรีบรรเลงซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ประกอบขึ้นจากกระบวนต่างๆ หลายกระบวน อาจมีการพักการแสดงในระหว่างกระบวนต่างๆ โดยทั่วไป
ใช้เพื่อความบันเทิงประกอบงานเลี้ยงแต่งงาน การสังสรรค์ของครอบครัว งานเลี้ยงอาหารค่ำ และในงานสังคมของคนในระดับสูง แม้ว่าดนตรีประเภทเซเรเนดมักถูกใช้บรรเลงในโอกาสที่ผ่อนคลาย มาตรฐานในการประพันธ์งานประเภทนี้ของโมสาร์ทก็ไม่แตกต่างไปจากงานในประเภทอื่น ๆ ของเขา เซเรเนดสำหรับวงออร์เคสตราของโมสาร์ทประกอบขึ้นจากกระบวนต่างๆ ราว 7-8 กระบวน ในระหว่างปี 1769 ถึง 1779 โมสาร์ทประพันธ์บทเพลงประเภทเซเรเนดสำหรับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ไว้จำนวน 9 บท สำหรับใช้ในการแสดงในช่วงหน้าร้อน ที่เมืองซาลซ์บูร์ก ซึ่งโดยปกติเป็นการแสดงกลางแจ้ง
เซเรเนดสำหรับวงออร์เคสตราในบันไดเสียงดีเมเจอร์ KV. 239 หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Serenata Notturna ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองงานประจาปี ในปี 1776 เซเรเนดบทนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากงานอื่นๆ ของเขาในประเภทเดียวกัน เซเรเนดบทนี้ประกอบด้วยกระบวนหลัก เพียง 3 กระบวน คือ มาร์ช มินูเอท และรอนโด มีการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีในวงที่แตกต่างจากปกติทั่วไป กลุ่มหนึ่งเป็นวงเครื่องเดี่ยวสี่ชิ้น ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา และดับเบิลเบส ประชันกับวงเครื่องสายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และกลองทิมปานี การแบ่งกลุ่มของเครื่องดนตรีดังที่ได้กล่าวข้างต้น ชวนให้คิดถึงลักษณะของคอนแชร์โต กรอสโซ ในยุคบาโรก ขณะเดียวกันบทประพันธ์ยังคงความเรียบง่ายในแบบของเซเรเนด ในศตวรรษที่ 18 กลุ่มของเครื่องดนตรีทั้ง 2 กลุ่ม อาจจะถูกบรรเลงจากคนละห้องเพื่อประสิทธิภาพในการเกิดเสียงสะท้อนให้มากยิ่งขึ้น เลโอโพลด์ บิดาของโมสาร์ท เขียนชื่อ “Serenata Notturna” และเวลาของการประพันธ์ “January 1776” บนโน้ตต้นฉบับ คำว่า Notturna บนหน้าปกสื่อว่าบทเพลงนี้ใช้บรรเลงในเวลากลางคืน แต่ด้วยเดือนมกราคมเป็นช่วงฤดูหนาวของซาลซ์บูร์ก เซเรเนดบทนี้จึงน่าจะถูกใช้ในการบรรเลงภายในอาคารมากกว่า
การบรรเลงกลางแจ้งเหมือนกับเซเรเนดบทอื่น
Wolfgang Amadeus Mozart, Austrian composer and son of Leopold Mozart, was born in Salzburg on 27 January 1756. Mozart was the most acclaimed child prodigy in the history of music in Western civilisation. Mozart’s precocity in music began to show at an early age and continued to shine brighter and brighter. His father, a gifted violinist and music pedagogue, had an important roles in the child musical development, he devoted his life on his son musical achievement. By six year of age, Leopold put his son’s talents on show across the European countries. Mozart absorbed a variety of musical fashions during his extensive
expeditions to England, Germany, France, Holland and Italy. Mozart’s music marks a culmination of many different styles, its richness of harmony and texture and it formal elegance are deeply rooted in German instrumental tradition, though its melodic beauty is influenced by Italian opera. Mozart excelled in almost every genre of music in vogue during his time. The range of Mozart’s musical output is extraordinary, and it has well been said that no other composer has been equally accomplished in so many different media, but it is his operas that hold the key to his essential style. Mozart’s music is seldom regarded as revolutionary, contemporaneous audiences certainly found some of his work difficult to appreciate, particularly in its starting contrasts, complexity, and sometimes dissonant harmony. At present, Mozart may thus be the most admired composer in the world of Western music, not only for the sheering range of his compositions but for the creativity and the beauty of his music.
Divertimento, Serenade, and Notturno, were genres that Mozart found particularly pleasant. They were late eighteenth century instrumental works with multiple movements, probably with long pause between movements. It was normally used as background music for entertaining at wedding receptions, family reunions, dinner parties and other upper-class social events. Serenade may be normally performed in relax and informal occasions, yet, Mozart never compromised his professional standards when creating these types of music. Mozart’s orchestral serenade consistsof anything up to seven or eight movements. Between 1769 and 1779, Mozart composed nine large-scale works for orchestra with the title cassation or erenade, for performance in Salzburg during the summer months, usually in the open air.
Serenade in D major KV. 239, Serenata Notturna, was likely written for the annual carnival celebrations in 1776. This serenade is different to his other works in this genre. It has only three movements comprising a genteel march (with a timpani solo), a country-dance minuet, and a spirited rondo. It is scored for a rather unusual ensemble: a solo quartet made up of two violins, a viola, and double bass on one side, against a larger group of strings consisting of violins, violas, cellos, and timpani on the other. The division of forces are reminiscent of the Baroque concerto grosso, yet the writing is wholly in the uncomplicated manner of the serenade. At the time, the two instrumental groups probably played in two different rooms in order to capitalize on opportunities for echo effects. Mozart’s father, Leopold Mozart, wrote the title “Serenata Notturna” and a “January 1776” date on the original manuscript. The term “notturna” in the title refers to a work performed in the evening, since the city is hilling in January, thus it suggests an indoor performance instead of outdoor as normal.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Music for Strings, Percussion and Celesta (1936)
Béla Bartók (1881-1945)
I. Andante tranquillo
II. Allegro
III. Adagio
IV. Allegro molto
เบลา บาร์ตอก คีตกวีชาวฮังการี เกิดที่ Nagyszentmiklós ประเทศฮังการี (ปัจจุบันคือเมือง Sînnicolau Mare ในประเทศโรมาเนีย) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 1881
บาร์ตอกศึกษาเปียโนและการประพันธ์ที่ Budapest Academy บาร์ตอกเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 แม้ว่าในช่วงชีวิตของเขาบาร์ตอกหาเลี้ยงชีพด้วยรายได้จากการสอนและการบรรเลงเปียโน บาร์ตอกเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานที่สำคัญของการศึกษาดนตรีชาติพันธุ์ รูปแบบการประพันธ์ดนตรีของบาร์ตอกได้รับอิทธิพลจากดนตรีพื้นบ้านของ โรมาเนีย
สโลวัก และฮังการี ความสนใจในดนตรีพื้นบ้านของบาร์ตอกเริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาได้ยินทำนองเพลงพื้นบ้านโดยเด็กหญิงชาวบ้านในปี 1904 บาร์ตอกสังเกตว่าในแต่ละท้องถิ่นของประเทศมีลักษณะของดนตรีพื้นบ้านเฉพาะตัวที่โดดเด่น นับแต่ปี 1906 เป็นต้นมา ทุกๆ ปี บาร์ตอกจะเดินทางท่องไปในประเทศยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี สโลเวเนีย และบัลกาเรีย เพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกโน้ตดนตรีพื้นบ้าน บารต์ อกร่วมเก็บขอ้ มูลเป็นครั้งคราวกับ โซลทาน โคดาย คีตกวีและเพื่อนร่วมงานของเขา
การเดินทางของบาร์ตอกนาไปสู่การพิมพ์บทความวิชาการด้านดนตรีชาติพันธุ์ในปี 1908 และ 1909 บทประพันธ์ของบาร์ตอกในช่วงนี้แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบพื้นบ้านที่ปรากฎเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในดนตรีของเขา สงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งอุบัติขึ้นในปี 1914 ส่งผลให้บาร์ตอกมีโอกาสในการแสดงเปียโนน้อยลงมาก อีกทั้งความตึงเครียดระหว่างประเทศทำให้การเดินทางเก็บข้อมูลดนตรีพื้นบ้านของเขาต้องถูกระงับลง บาร์ตอกใช้เวลาช่วงนี้ในการวิเคราะห์จัดกลุ่มแยกประเภท และเรียบเรียงดนตรีพื้นบ้านที่เขาได้เก็บรวบรวมเก็บไว้ ซึ่งคาดว่าจนถึงปี 1918 บาร์ตอกได้รวบรวมทำนองดนตรีพื้นบ้านไว้มากกว่า 10,000 ทำนองจากโรมาเนีย สโลวัก และฮังการี
Music for Strings, Percussion and Celesta เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดบทหนึ่งของเบลา บาร์ตอก Paul Sacher วาทยกรชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ว่าจ้างให้บาร์ตอกประพันธ์งานชิ้นนี้ในโอกาสการเฉลิมฉลองสิบปีแห่งการก่อตั้งวง Chamber Orchestra Basler Kammerorchester บาร์ตอกประพันธ์บทประพันธ์นี้สำเร็จลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน 1936 และได้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในปีถัดมา
โดยวง Chamber Orchestra Basler Kammerorchester อำนวยเพลงโดย Sacher เมื่อวันที่ 21 มกราคม 1937 บทประพันธ์นี้ประกอบด้วยกระบวนต่างๆ 4 กระบวน ทั้งหมดถูกประพันธ์ขึ้นโดยไม่มีเครื่องหมายประจำกุญแจเสียง บาร์ตอกได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์ส่วนหนึ่งมาจากการศึกษาผลงานของคีตกวีในศตวรรษที่ 18 บาร์ตอกได้นำเอาองค์ประกอบหลายอย่างของดนตรีในยุคบาโรกมาใช้ในการประพันธ์บทเพลงนี้ บาร์ตอกแบ่งกลุ่มเครื่องสายในวงออร์เคสตราออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน และจัดตำแหน่งให้แต่ละกลุ่มอยู่คนละด้านของเวทีเพื่อโต้ตอบกันมีลักษณะคล้ายกับคอนแชร์โตกรอสโซในยุคบาโรก บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้น สำหรับการบรรเลงโดยกลุ่มเครื่องสาย ประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และฮาร์ป กับกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ประกอบด้วย ไซโลโฟน กลองสแนร์ ฉาบ แทมแทม กลองใหญ่ ทิมปานี และเชเลสตา นอกจากนี้ยังมีเปียโน เครื่องดนตรีที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องประกอบจังหวะ และเครื่องสาย แม้ว่าบาร์ตอกจะตั้งชื่อบทประพันธ์นี้ว่า Music for Strings, Percussion and Celesta แต่เครื่องเชเลสตาก็ไม่ได้เป็นเครื่องที่มีความสำคัญมากกว่าเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงเครื่องอื่น ๆ เช่น เปียโน ฮาร์ป ไซโลโฟน และทิมปานี ในปทประพันธ์นี้แต่อย่างใด
กระบวนแรกอยู่ในอัตราจังหวะช้า มีรูปแบบการประพันธ์แบบฟิวก์ กระบวนนี้มีเสียง A เป็นเสียงสำคัญ ทำหน้าที่เป็นทั้งเสียงเริ่มต้นและเสียงสุดท้าย เครื่องหมายประจำจังหวะในกระบวนนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัตถุดิบทางด้านดนตรีในกระบวนนี้ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญให้กับกระบวนอื่นๆ ที่ตามมาทำนองหลักของฟิวก์ปรากฏซ้ำอีกหลายครั้งในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตลอดทั้งบทเพลง กระบวนที่สองอยู่ในกระบวนแบบโซนาตา เป็นบทเพลงเต้นรำที่รวดเร็วและร่าเริง บาร์ตอกใช้เทคนิกการโต้ตอบสลับไปมาระหว่างกลุ่มเครื่องสายออร์เคสตรา ซึ่งไล่ล้อกันบนทำนองหลักกระบวนที่สามเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ประเภท ดนตรียามค่ำ ที่ดีที่สุดของบาร์ตอก ทำนองหลักของฟิวก์ในกระบวนที่ 1 ถูกนำมาใช้อีกครั้งในกระบวนนี้ กระบวนสุดท้ายมีกลิ่นอายของดนตรีเต้นราพื้นบ้าน ทำนองหลัก
ของกระบวนสุดท้ายใช้รูปแบบจังหวะของดนตรีเต้นรำบัลแกเรีย ซึ่งมีลักษณะไม่สมมาตร มีรูปแบบจังหวะเป็นกลุ่มโน้ตตัวเขบ็ด 1 ชั้น สองตัวสลับกับสามตัว กระบวนนี้เต็มไปด้วยองค์ประกอบทางดนตรีที่น่าตื่นเต้นเช่นการใช้จังหวะขัดและการเปลี่ยนอัตราจังหวะอย่างทันทีทันใด
Béla Bartók, Hungarian composer, was born in Nagyszentmiklós in Hungary (now Sînnicolau Mare in Romania) on 25 March 1881. He studies piano and composition at the Budapest Academy. Bartók is remembered now as one of the greatest composers of the 20th century, although during his life time he earned his living from teaching and playing the piano. Bartók is one of the founders of ethnomusicological studies. Bartók mature styles were highly influenced by Hungarian, Romanian and Slovak peasant music. Bartók’s interest in folk-music emerged as he was struck by a melody sung by a peasant girl in 1904. Bartók speculated that each region of the country possess a distinct folk style. From 1906, Bartók annually travelled around Eastern European countries such as Hungary, Slavonia and Bulgaria, collecting and notating folk-music, some in collaboration with his colleague and fellow composer Zoltán Kodály. These tours had led to Bartók’s first ethnomusicological articles in 1908 and 1909. Bartók’s compositions also show increasing emphasis upon folk materials. After the outbreak of the World War I in 1914 Bartók hardly performed in public and the national tensions in the region prevented him from the collecting expeditions. Bartók, thus, devoted his time on analyzing, categorizing and arranging his existing folk-music collection, which by 1918 encompassed approximately 10,000 melodies from Romania, Slovak and Hungary.
Music for Strings, Percussion and Celesta is one of the best-known compositions by Béla Bartók. The work was commissioned by Paul Sacher, the Swiss conductor, to celebrate the tenth anniversary of the chamber orchestra Basler Kammerorchester. The score was dated 7th September 1936 and its premiere was given in the following year by the Basle Chamber Orchestra, conducted by Sacher on 21 January 1937. The piece is in four movements all written without key signature. Inspired partly by his exploration of the 18th century composers, Bartók incorporated elements of Baroque music into his compositions. Bartók divided the strings orchestra into two groups of equal size and placed them antiphonally on opposite sides of the stage, thus echoes the Baroque concerto grosso. The piece is written for a group of string instruments comprising violins, violas, cellos, double basses, and harp and a group of percussion instruments comprising xylophone, snare drum, cymbals, tam-tam, bass drum, and timpani and celesta. The ensemble also includes a piano, which can be classified as a percussion or string instrument. Although the work is titled Music for Strings, Percussion and Celesta, the celesta is not particularly more important than the other tuned percussion in the work, for example, piano, harp, xylophone and timpani.
The opening movement, Andante tranquillo, is a slow fugue based around the pitch A, where the movement begins and ends. Its time signature changes constantly. Materials from this movement serve as the basis for the later movements, and the fugue subject recurs in different guises throughout the piece. The second movement, a quick and cheerful dance, is in an expanded sonata form. Bartók deploys antiphonal exchange between the two string orchestras in which they chase each other on the main theme. The third movement is one of Bartók’s most accomplished “night music”. The materials of this movement are derived from the first movement’s fugue subject. The last movement has a character of folk dance. The main theme of the finale cooperates Bulgarian dance rhythm, an asymmetrical alternation of units of two and three eighth-notes. This movement is full with elements of musical excitement such as syncopation, and rapid change of meters.
Violin: Akihiro Miura
Violin: Gaël Rassaert
Viola: Néstor Manuel Pou Rivera
Violoncello: Prof. Birgit Erichson
Celesta: Prof. Christoph Eggner
Pianist: Frank Reich
Sunday 19th July 2015 / 4.00 p.m.
at Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music