PROGRAM

Musique de la Vie et de la Terre

2nd CONCERT SEASON: SEASON FINALE



Overture to La Forza del Destino “The Force of Destiny” (1862; revised 1869)
จูเซปเป แวร์ดี
Giuseppe Verdi (1813-1901)

จูเซปเป แวร์ดี คีตกวีชาวอิตาลี เกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้กับเมือง Busseto แวร์ดีเริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุยังไม่ถึง 4 ปี กับนักบวชที่อยู่ในละแวกบ้าน
เมื่ออายุได้ 7 ปี พ่อได้ซื้อเครื่องดนตรี Spinet ให้กับเขา หลังจากนั้นไม่นานเขาเริ่มบรรเลงออร์แกนในโบสถ์แทนนักดนตรีเป็นครั้งคราว และได้บรรเลงเป็นประจำเมื่ออายุได้เพียง 9 ปี ในปี 1823 แวร์ดีย้ายเข้ามายังเมือง Busseto และเริ่มเรียนภาษาอิตาเลียน ละติน มนุษยศาสตร์ และวาทศาสตร์อย่างจริงจัง ในปี 1825 เขาได้เริ่มศึกษากับ Ferdinando Provesi ผู้อำนวยการวง Philharmonic Society และในปี 1832 เมื่อแวร์ดีอายุได้ 18 ปี แวร์ดีสมัครเข้าเรียนที่ Milan Conservatory แต่ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลที่เขามีอายุเกินเกณฑ์ Antonio Barezzi พ่อค้าในเมือง Busseto ผู้มีความสนใจในดนตรีอย่างมากได้ตกลงให้การสนับสนุนการศึกษาของแวร์ดีในมิลาน แวร์ดีเข้าเป็นศิษย์ของ Vincenzo Lavigna ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงออร์เคสตราของ Teatroalla Scala ต่อมาในปี 1836 แวร์ดีได้แต่งงานกับ Margherita Barezzi ซึ่งเป็นลูกสาวของ Antonio Barezzi เขาได้ตั้งรกรากที่เมือง Busseto และทำงานให้กับ Philharmonic Society พร้อมกับการสอนดนตรี

แวร์ดีประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก Oberto ในปี 1839 อุปรากรเรื่องนี้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ La Scala ในเมืองมิลาน Oberto ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างสูง
แต่ชีวิตของแวร์ในช่วงนี้เต็มไปด้วยความโศกเศร้าจากการสูญเสียสมาชิกภายในครอบครัว ลูกทั้งสองคนของเขาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารกในปี 1838 และ 1839 และภรรยาของเขา Margherita เสียชีวิตในปี 1840 แวร์ดีใช้การประพันธ์อุปรากรเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายความเศร้าของเขา Nabucco (1842) และ I Lombardi alla Prima Crociata (1843) สร้างชื่อเสียงให้กับแวร์ดีและทำให้เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักแต่งอุปรากรที่มีชื่อเสียงของอิตาลี แวร์ดีประพันธ์ดนตรีอย่างต่อเนื่อง อุปรากรเรื่องต่อๆ มาต่างได้รับการตอบรับและสร้างชื่อเสียงให้กับแวร์ดีเป็นอย่างมาก อาทิ Rigoletto (1851) Il trovatore (1853)
La traviata (1853) Don Carlos (1867) และ Aida (1871)

La forza del destino (1962) เป็นอุปรากรอิตาเลียนใน 4 องก์ บทร้องประพันธ์โดย Francesco Maria Piave มีเค้าโครงเรื่องมาจากละครของสเปน
เรื่อง Don Álvaro o la fuerza del sino (1835) ประพันธ์โดย Ángel de Saavedra, 3rd Duke of Rivas อุปรากรเรื่อง La forza del destino เป็นเรื่องราวของครอบครัวที่โชคร้ายซึ่งต้องประสบกับเหตุการณ์อันมีส่วนผลักดันให้พวกเขาแสดงพฤติกรรมที่ยากจะเข้าใจ อุปรากรเริ่มจาก Leonora ซึ่งตกหลุมรักและวางแผนที่จะหนีไปกับคนรัก Don Alvaro ผู้ฆาตกรรมพ่อของเธอโดยไม่ได้ตั้งใจ Don Carlo พี่ชายของ Leonora ออกตามล่าทั้งคู่เพื่อล้างแค้น ในระหว่างการหลบหนีทั้งสองได้พลัดพรากจากกัน และในเวลาต่อมา Don Alvaro และ Don Carlo ได้พบกันในระหว่างสงคราม Don Alvaro ได้ช่วยชีวิต Don Carlo และสัญญาเป็นเพื่อนโดยไม่ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของกันและกัน Don Alvaro ฝากตลับและจดหมายไว้ให้ Don Carlo ทำลายทิ้งเมื่อเขาตาย Don Carlo สงสัยและแอบเปิดตลับทำให้พบภาพวาดของ Leonora ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าที่แท้จริงแล้วเพื่อนของเขาคือ Don Alvaro ศัตรูผู้ฆ่าพ่อ Don Alvaro หลบไปพำนักอยู่ในโบสถ์ Don Carlo ติดตามมาจนพบและท้าดวล สุดท้าย Don Carlo เป็น ฝ่ายถูกยิง Don Alvaro พยายามหาคนช่วยและพบว่า Leonora เองก็มาพำนักอยู่ที่โบสถ์เดียวกัน โชคชะตา นำคนทั้งสามมาพบกันอีกครั้ง Leonora เข้าให้ความช่วยเหลือ Don Carlo แต่กลับถูกแทงจนถึงความตาย สมาชิกสองคนสุดท้ายที่เหลือในครอบครัวต้องพบกับจุดจบที่น่าเศร้าสลด

La forza del destino เป็นอุปรากรเรื่องแรกที่เขาได้รับการว่าจ้างให้ประพันธ์จากต่างประเทศนำออกแสดงครั้งแรกที่ Bolshoi Theatre เมือง St. Petersburg
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1862 แม้ว่าอุปรากรจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่แวร์ดีพบว่าตัวงานมีปัญหาที่สำคัญในด้านเนื้อเรื่องหลายคนเห็นว่ามีฉากฆาตกรรมมากเกินไป เจ็ดปีให้หลังแวร์ดีได้ปรับแก้ La Forza del destino และออกแบบแต่ละองก์ใหม่อีกครั้ง อุปรากรฉบับปรับปรุงถูกนำออกแสดงที่ Teatro alla Scala เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1869 บทโหมโรงซึ่งได้รับการปรับแก้ใหม่กลายเป็นหนึ่งในบทเพลงมาตรฐานของการแสดงสำหรับวงออร์เคสตราในปัจจุบัน


Giuseppe Verdi, an Italian composer, was born in a small village near Busseto. Before the age of four, Verdi began instruction,
possibly in music and other subjects, with the local priests. At the age of 7, his father bought him an old spinet. He was soon substituting as organist at the local church, and to the position permanently at the age of 9. In 1823, he moved to Busseto and received training in Italian, Latin, humanities and rhetoric. In 1825 he began lessons with Ferdinando Provesi, director of the Philharmonic Society. In 1832, at the age of 18, Verdi applied for admission at the Milan Conservatory but was rejected for the reasons that he was above the usual entering age. Antonio Barezzi, a prominent merchant in Busseto and a keen amateur musician, agreed to sponsor Verdi’s private study in Milan. Verdi became a pupil of Vincenzo Lavigna, a maestro concertatore at La Scala. In 1836, Verdi married daughter of Antonio Barezzi, Margherita Barezzi, and settled in Busseto, working for the local Philharmonic Society and giving private lessons.

Verdi completed his first opera, Oberto, in 1839, the opera’s debut production was held at La Scala in Milan.
Oberto met with great success but during this time Verdi suffered from many tragic loss of his family members. Both of his children died in infancy in 1838 and 1839 and his wife Margherita died in 1840. Verdi soon found solace in his work by composing operas. Nabucco (1842) and I Lombardi alla Prima Crociata (1843) earned him a great amount of success. He is recognized as a prominent Italian musical dramatist. Verdi continued to compose and his following operas continued to gain success and fame Rigoletto (1851), Il trovatore (1853), La traviata (1853), Don Carlos (1867) and Aida (1871).

La forza del destino is an Italian opera in four acts. The libretto was written by Francesco Maria Piave based on a Spanish drama,
Don Álvaro o la fuerza del sino (1835), by Ángel de Saavedra, 3rd Duke of Rivas. La forza del destino is the story of an ill-fated family, when an unfortunate coincidence drives characters to incomprehensible behavior. The opera begins as Leonora plans to elope with her lover Don Alvaro, who accidentally shoots and kills her father. Leonora’s brother, Don Carlo, seek them out to take revenge. The lovers are separated in their flight. Later, Don Alvaro and Don Carlo encounter during the war in Italy, Don Alvaro saves Don Carlo’s life and they swear friendship, without being aware of their true identities. Don Alvaro entrusts a casket and letter to Don Carlo to be destroyed after his death. Suspicious, Don Carlo opens the casket and finds a portrait of Leonora, proof that his supposed friend is in fact Don Alvaro. Don Alvaro resolves to find peace in a monastery, but Don Carlo pursues him out and provokes a duel in which he himself is killed. Don Alvaro searches for help, but discovers Leonora also takes anonymous refuge in the monastery. The power of fate drawn the three together. As Leonora approaches her dying brother, he stabs her, the two remaining members of the family meet a tragic end.

La forza del destino was Verdi’s first “foreign” commission. Its premiere was given at Bolshoi Theatre, St. Petersburg
on 10th November 1862. Despite its success, the work had serious problems, notably in the story, which many found too bloody. Seven years later, Verdi returned to La Forza in an attempt to redesign the acts. The new version was premiered at Teatroalla Scala on 20th February 1869. At present, the overture of the revised version becomes part of the standard repertoire for orchestras.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Symphony No.4 in G Minor (1899-1900; revised 1901-1910)
กุสตาฟ มาเลอร์
Gustav Mahler (1860-1911)

I. Bedächtig. Nicht eilen [Deliberately. Unhurried]
II. In gemächlicher Bewegung. Ohne Hast [Moving comfortably. Without haste]
III. Ruhevoll [Peacefully]
IV. Sehr behaglich [Easefully]

กุสตาฟ มาเลอร์ เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวออสเตรีย-โบฮีเมียเชื้อสายยิว มาเลอร์เป็นบุตรคนที่สองของพี่น้องสิบสองคน
มาเลอร์แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางด้านดนตรีตั้งแต่ในวัยเด็ก เขาร้องและประพันธ์เพลงบนเครื่อง accordion และเปียโนเมื่ออายุได้เพียง 4 ปี เริ่มออกแสดงดนตรีเมื่ออายุ 10 ปี และเข้าศึกษาที่ Vienna Conservatory เมื่ออายุ 15 ปี มาเลอร์ชนะการแข่งขันบรรเลงเปียโนและการประพันธ์ในหลายรายการ เขาเริ่มอำนวยเพลงให้กับวงออร์เคสตราเล็กๆ ในโบฮีเมียและฮังการี ก่อนที่จะสร้างชื่อเสียงให้ กับตนเองด้วยการรับตำแหน่งวาทยกรที่ Prague (1885-1886) Leipzig (1886-1888) Budapest (1888-1891) Hamburg (1891-1897) และในตำแหน่งที่สำคัญที่สุดคือผู้อำนวยการอุปรากรแห่งราชสำนักออสเตรีย (1897- 1901) มาเลอร์ได้รับการยกย่องทั้งจากนักวิจารณ์และสาธารณชนในสหรัฐอเมริกา และเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงที่โรงโอเปร่าเมโทรโปลิแทนในปี 1909 ซึ่งต่อมามาเลอร์ได้รับตำแหน่งวาทยกรประจำวงนิวยอร์คฟิลฮาร์โมนิก

ในช่วงชีวิตของเขามาเลอร์เป็นที่รู้จักสูงสุดในฐานะวาทยกรอุปรากรและวงออร์เคสตรา ตารางการทำงานที่แน่นขนัดทำให้เขาเหลือเวลาเพียงเล็กน้อย
สำหรับการประพันธ์ดนตรี บทประพันธ์ซิมโฟนีทั้งหลายของเขาถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงหยุดพักฤดูร้อนซึ่งมาเลอร์ใช้เวลาพักผ่อนบริเวณภูเขาและทะเลสาบที่บ้านพักตากอากาศในเมืองมาเอียนนิกก์บนทะเลสาบเวอร์ทเธอร์เซห์ในเขตคารินเทียของประเทศออสเตรีย งานประพันธ์ของมาเลอร์จำนวนไม่น้อยในระยะแรกได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทกวี Des Knaben Wunderhorn หรือฮอร์นวิเศษของเด็กน้อย มาเลอร์ประพันธ์บทเพลงร้องมากกว่ายี่สิบบทจากบทกวีนี้ และยังได้นำบทกวีนี้ไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของบทประพันธ์ซิมโฟนีอีกสี่บท ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนาม ซิมโฟนีฮอร์นวิเศษ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามาเลอร์เป็นคีตกวีที่มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงต่อพัฒนาการของดนตรีในช่วงปลายยุคโรแมนติก แต่ในช่วงชีวิตของมาเลอร์ผลงานของเขาถูกละเลยจากสถาบันดนตรีหลักๆ ในกรุงเวียนนา อย่างไรก็ดีสิ่งที่มาเลอร์ได้สร้างสรรค์ไว้ก็เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของดนตรีประเภทซิมโฟนีอย่างมหาศาล นับแต่เบโธเฟนมาอาจกล่าวได้ว่าไม่มีคีตกวีท่านใดเลยที่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของงานประพันธ์ประเภทซิมโฟนีไปมากเท่ากับมาเลอร์ สิ่งที่เขาทำมิได้เป็นเพียงการขยายขนาดของวงและการเลือกใช้เครื่องดนตรีที่แตกต่างไปเท่านั้น มาเลอร์เติมเต็มบทซิมโฟนีของเขาด้วยอารมณ์ที่หลากหลายและยิ่งไปกว่านั้นซิมโฟนีก็เปรียบประหนึ่งอัตชีวประวัติของตัวมาเลอร์เอง

มาเลอร์ประพันธ์ซิมโฟนีลำดับที่สี่ในระหว่างปี 1899 ถึง 1900 และนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1901 กับวงคาเอมออร์เคสตรา
โดยมาเลอร์เป็นผู้ควบคุมวงด้วยตนเอง ซิมโพนีบทนี้เปรียบได้กับการเดินทางผ่านโลก จากพื้นพิภพสู่สวรรค์ กระบวนแรกของซิมโฟนีบทนี้มีพื้นฐานของโครงสร้างแบบโซนาตา โดยมีเสียงของกระดิ่งพวงซึ่งเป็นตัวนำเข้าสู่บทประพันธ์ ในกระบวนที่สองมาเลอร์ใช้กลวิธีการขึ้นสายไวโอลินแบบพิเศษซึ่งใช้ในงานประพันธ์ในยุคบาโรก โดยในกระบวนนี้ผู้เล่นนำไวโอลินจะปรับเสียงเครื่องให้สูงขึ้นจากปกติหนึ่งเสียงเต็ม มาเลอร์ยังระบุอีกด้วยว่าให้เล่นไวโอลินเหมือนกับซอในยุคกลาง ซึ่งจะต้องเล่นโดยปราศจากวิบราโตหรือเทคนิคสมัยใหม่ใด ๆ ไวโอลินเป็นตัวแทนของ ฟรอยด์ ไฮน์ ปีศาจโครงกระดูกบรรเลงไวโอลินบทเพลงเต้นรำแห่งความตาย กระบวนที่สามพัฒนาขึ้นจากสองแนวทำนองที่แตกต่างแต่ก็มีความสัมพันธ์ต่อกัน มาเลอร์กล่าวถึงกระบวนนี้ว่าสะท้อนภาพมารดาของเขาเองที่แม้จะมีสีหน้าที่เศร้าหมองไปด้วยความทุกข์อย่างมหันต์ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความรักและการให้อภัยอยู่เสมอ กระบวนสุดท้ายของบทประพันธ์ประกอบด้วยบทเพลง ‘Das himmlische Leben’ หรือ ชีวิตเยี่ยงชาวฟ้า สำหรับนักร้องเสียงโซปราโน บทร้องสะท้อนภาพชีวิตบนสวรรค์ในจินตนาการของเด็ก สถานที่ซึ่งไม่เคยขาดแคลนอาหาร และเหล่าฑูตสวรรค์เป็นผู้อบขนมปัง เมื่อเปรียบเทียบกับงานประเภทเดียวกันของมาเลอร์แล้ว ซิมโฟนีบทนี้ใช้วงออร์เคสตราขนาดค่อนข้างย่อม และถึงแม้ว่าซิมโฟนีบทนี้จะมีความยาวถึงหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณ งานชิ้นนี้ก็ยังนับเป็นซิมโฟนีที่มีขนาดสั้นที่สุดของมาเลอร์และอาจเพราะด้วยสาเหตุดังกล่าวซิมโฟนีบทนี้จึงถูกนำออกแสดงอยู่บ่อยครั้งกว่าซิมโฟนีบทอื่นๆ


Gustav Mahler was a Jewish Bohemian-Austrian composer and conductor. Mahler was the second of twelve children.
He showed a musical precocity at an early age. Mahler began singing and composing on the accordion and piano at the age of four, gave his first public recital at the age of ten, and entered the Vienna Conservatory at the age of fifteenth. He won several awards for piano playing and composition. Mahler began to conduct at the smaller halls of Bohemia and Hungary before establishing himself with appointments in Prague (1885-1886), Leipzig (1886-1888), Budapest (1888-1891), Hamburg (1891-1897), and ultimately he became Kapellmeister at the Vienna Court Opera (1897-1901). His visits to the USA earned him much praise from critics and public. Mahler was enormously popular at the Metropolitan Opera in 1909, and later signed a contract to conduct the New York Philharmonic.

Mahler was best known during his lifetime as a leading orchestra and opera conductor.
His compositional output is almost entirely of symphonies and lieder. His busy schedule as a conductor left him extremely little room to compose. Thus, most of his symphonies were written over the summer vacation breaks in which he retreated to the mountains and lakes at the holiday home in Maiernigg, on the Wörthersee in Carinthia. Much of his output was inspired by the folk poem Des Knaben Wunderhorn (The Youth’s Magic Horn). Mahler wrote more than twenty songs based on this poem and incorporated its texts into his first four symphonies where they are now referred to as ‘Wunderhorn’ symphonies. Although at present Mahler is universally acknowledged as one of the most influential late-Romantic composers, at the time, he had rarely been accepted by the musical establishment of Vienna. Yet, his contribution to the development of symphonic music was immense. Since Beethoven, no other composer has altered the course of symphonic form as much as Mahler. Not only broadening its scale and instrumentation, Mahler also imbued his symphonies with vast emotional range and incorporated autobiographical references.

Mahler composed his fourth symphony in G major between 1899 and 1900. The symphony was given its premiere in
Munich with the Kaim Orchestra conducted by the composer in 1901. The symphony depicts a journey through the world rising from the earthly to heaven. The first movement was grounded in traditional sonata form, highlighted by the sleigh bells at the beginning. In the second movement, Mahler employed the Baroque technique of scordatura in which the violin is tuned a whole tone higher than normal. The violin was also instructed “wie ein Fidel” which means to play “like a medieval fiddle” implying no vibrato or other modern techniques. The violin portrays Freund Hein, a skeleton playing fiddle, leading a Totentanz or a dance of death. The third movement was developed on two distinct yet related themes. According to Mahler it reflected his mother’s sadface, constantly loving and pardoning in spite of immense suffering. The last movement features a solo soprano. The song ‘Das himmlische Leben’ presents a child’s vision of the ‘heavenly life’ and describes the feast being prepared for all the saints where food is abundance and the bread is baked by angels. Compare to his other symphonic works, this piece is scored for a fairly small orchestra, by Mahler’s standards. Also, even though the typical performance of this symphony lasts about an hour, it is Mahler’s shortest symphony. Perhaps for this reason, it is one of the most frequently performed.

Soprano: Zion Daorattanahong
Conductor: Niklas Willén
Sunday 30th August 2015 / 4.00 p.m.
at Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music