PROGRAM

Musique de la Vie et de la Terre

2nd CONCERT SEASON OPENING CONCERT



The Academic Festival Overture (1880)

Johannes Brahms (1833-1897)

โยฮันเนส บรามส์ คีตกวีชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1833 ที่เมืองฮัมบูร์ก บรามส์เป็นที่ยอมรับในฐานะทายาทโดยแท้ของเบโทเฟน
บรามส์ผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีจากหลายศตวรรษเข้ากับวิธีการสื่อสารอารมณ์ของดนตรีในศตวรรษที่ 19 บรามส์ได้รับการยกย่องจากทั้งเพื่อนร่วมวงการและผู้อุปถัมภ์ของเขา ชื่อเสียงของบรามส์เป็นที่รู้จักยุโรปจนถึงประเทศอังกฤษและอเมริกา รายได้จากการปรากฏตัวในคอนเสิร์ตและการขายบทประพันธ์ มากพอที่จะทำให้เขาใช้ชีวิตอย่างสุขสบายได้โดยไม่มีจำเป็นที่จะต้องแสวงหาตำแหน่งงานประจำ ทั้งนี้ เพราะบรามส์ต้องการรักษาความเป็นอิสระในการประพันธ์เพลงของเขาไว้ บรามส์ได้ปฏิเสธตำแหน่งงานที่สำคัญๆ อยู่หลายครั้ง ในปี 1872 บรามส์ตัดสินใจรับตำแหน่งผู้อำนวยการวงออร์เคสตราและวงขับร้องประสานเสียง Gesellschaft อย่างไรก็ดีบรามส์อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวเพียงสามปี

บรามส์ได้รับการศึกษาทางด้านดนตรีเป็นอย่างดีในวัยเด็ก แต่เขาก็ไม่เคยได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ในปี 1853 โยเซฟ โยคิม นักประพันธ์และนักไวโอลินได้ชักชวนให้บรามส์มาพบกับเขาที่ Göttingen ที่ซึ่งโยคิมลงเรียนภาคฤดูร้อนที่มหาวิทยาลัยในหลักสูตรปรัชญาและประวัติศาสตร์ บรามส์ใช้เวลากับโยคิมและเพื่อนเป็นเวลาถึงสองเดือน นั่นเป็นโอกาสเดียวในชีวิตของบรามส์ในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยในฐานะนักศึกษา โดยที่เขาไม่ต้องทำงานด้านวิชาการ ใดๆ เลย

ในปี 1876 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เสนอมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาดนตรีให้กับบรามส์ โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องเดินทางมาร่วมในพิธีมอบปริญญาบัตรด้วยตนเอง บรามส์ปฏิเสธข้อเสนอด้วยเหตุผลที่ว่าเขาไม่ชอบการเดินทางทางทะเลและไม่ต้องการให้มีการจัดงานเลี้ยงฉลองแสดงความยินดีอย่างใหญ่โตให้กับเขา สองปีต่อมา ในปี 1879 บรามส์ยอมรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัย Breslau (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัย Wrocław เมือง Wrocław ประเทศโปแลนด์) บรามส์ได้ส่งไปรษณียบัตรแสดงความขอบคุณกลับไปยังมหาวิทยาลัยและต่อมาได้รับจดหมายตอบกลับจากเพื่อนของเขา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านดนตรี แห่ง Breslau ระบุว่ามหาวิทยาลัยหวังว่าบรามส์จะแสดงความซาบซึ้งในรูปแบบของดนตรี ด้วยเหตุนี้ บรามส์จึงได้ประพันธ์ The Academic Festival Overture เพื่อเป็นการขอบคุณมหาวิทยาลัยในปี 1880

อย่างไรก็ดีความต้องการของมหาวิทยาลัยดูเหมือนจะสร้างความรำคาญใจให้กับบรามส์สังเกตได้ว่าบรามส์ประพันธ์ The Academic Festival Overture ขึ้น
จากบทเพลงซึ่งนักศึกษานิยมร้องในโรงเบียร์ โหมโรงบทนี้ ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อล้อเล่นกับคำขอบคุณสำหรับปริญญากิตติมศักดิ์ดังกล่าว ทำนองที่บรามส์เลือกใช้ทั้ง 4 มีบทบาท ที่สำคัญในโหมโรงบทนี้ จุดเน้นอยู่ที่การเฉลิมฉลองมากกว่าความเป็นวิชาการ บรามส์ควบคุมการบรรเลง รอบปฐมฤกษ์ด้วยตนเองในที่ประชุมของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1881

ทำนองเปิดของโหมโรงบทนี้นำมาจาก Rakóczy March ซึ่งเป็นทำนองที่บรามส์ชื่นชอบแต่วัยหนุ่ม ตามด้วยบทเพลงในตำนานของนักศึกษาลำดับแรกคือ We have built a Stately house บรรเลงโดยทรัมเปต ติดตามมา ด้วยทำนองที่สอง The father of our country บรรเลงโดยกลุ่มเครื่องสาย ทำนองลำดับที่สาม What comes from there on high? เป็นบทเพลงที่ใช้ขับร้องในระหว่างพิธีการรับนักศึกษาเข้าใหม่และลำดับสุดท้ายเป็นบทเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุด Therefore, let us be merry เป็นบทเพลงเก่าแก่ฉลองชีวิตนักศึกษา บรรเลงโดยวงออร์เคสตราเต็มวงอย่างยิ่งใหญ่ โหมโรงบทนี้เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ของบรามส์ที่ถูกนำกลับมาบรรเลงบ่อยครั้งที่สุดในหอแสดงดนตรีในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเนื่องจากโครงสร้างที่เข้าใจง่าย ประกอบกับความเร้าใจและอารมณ์ขัน ที่สอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์

Johannes Brahms, German composer, was born on 7 May 1833 in Hamburg. Brahms is considered the true successor to Beethoven. He synthesized the tradition of music from the previous centuries with the expression of 19th century art music. Brahms was exceedingly praised by his fellows and patrons. His fame spread across the Continent and on to England and the USA. His income from concert appearances and the sale of compositions was more than enough to support his decent life. Thus there was no need for an official position, and in order to maintain his freedom to compose, he turned down most offers of positions. Brahms once accepted the directorship of the Gesellschaft orchestra and choir in 1872, yet he retained the position for only three years.

Johannes Brahms received a thorough musical training in his youth, but he never went to college. In 1853,
Joseph Joachim, a violinist-composer, had invited Brahms to join him at Göttingen, where he took summer courses in philosophy and history at the university. Brahms hung out with Joachim and his circle for two months. It was Brahms’ only opportunity to experience college life as a student, without having to do academic work.

In 1876, Cambridge University offered him an honorary doctorate in music, which required his presence at the ceremony. Brahms relinquished the honor, since he distasted sea travel and was sickened by the news that the English were going to throw lavish celebrations for him. Two years later, in 1879, Brahms accepted an honorary doctorate in philosophy conferred upon him by the University of Breslau (now the University of Wrocław in Wrocław, Poland). Brahms sent a postcard of thanks to the university. However, a subsequent letter from his friend Bernhard Scholz, Director of Music in Breslau, made it clear that the university expected him to express his gratitude in musical form. Thus, Brahms composed the Academic Festival Overture as a musical “thank you” to the university in 1880.

Perhaps, Brahms was a bit annoyed at this. The Academic Festival Overture is a medley of popular student beer-hall songs, written as a tongue-in-cheek “thanks” for an honorary degree. Excerpts from four student drinking tunes play a significant role in this overture. The emphasis is on the “festival” rather than the “academic”. Brahms himself conducted the premiere at a convocation held by the university on 4th January 1881.

The overture’s opening melody is based on the Rakóczy March, a favorite tune with the composer since his youth. Follow, the first of the traditional students’ songs “Wir hatten gebauet ein stattliches Haus” (We have built a stately house) is presented by trumpets. Next, strings introduce the second tune “Der Landesvater” (The father of our country). The third melody “Was komm dort von der Höh’” (What comes from there on high?) is a lively song sung while new undergraduates were undergoing their initiation ritual. Finally, the last and most famous song, “Gaudeamus Igitur” (Therefore, let us be merry), an ancient song celebrating student life, is introduced using the full orchestra as the grand finale. This overture has become one of Brahms’ most often played repertoires in modern concert hall due to its easily straightforward structure, as well as its excitement and humor.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Symphony No. 6 in F Major, Op. 68 ‘Pastoral’
Ludwig van Beethoven (1770-1827)

I. Erwachen heiterer Empfindungen bei der Ankunft auf dem Lande
(Awakening of cheerful feelings upon arrival in the countryside): Allegro ma non troppo
II. Szene am Bach
(Scene by the brook): Andante molto mosso
III. Lustiges Zusammensein der Landleute
(Merry gathering of Country folk): Allegro
IV. Gewitter, Sturm
(Thunder. Storm): Allegro
V. Hirtengesang. Frohe und dankbare Gefühle nach dem Sturm
(Shepherd’s song; cheerful and thankful feelings after the storm): Allegretto


ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน คีตกวีชาวเยอรมัน เกิด ณ กรุงบอนน์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1770 เบโธเฟนละทิ้งบ้านเกิดแสะเดินทางเข้าสู่กรุงเวียนนาเมื่ออายุราว 20 ปี
เบโธเฟนเป็นศิษย์ของคีตกวีที่สำคัญในยุคนั้นอาทิโจเซฟ ไฮเดิน และ อันโตนิโอ ซาลิเอริ เบโธเฟนได้รับการความเคารพและเป็นที่ชื่นชอบเป็นอย่างสูงในแวดวงทันสมัย
ของกรุงเวียนนาในฐานะคีตกวีและผู้เชี่ยวชาญด้านเปียโน สไตล์ดนตรีของเบโธเฟนเป็นผลจากการผสมผสานการค้นหาและการพัฒนาต่อยอดแบบแผนของ
ดนตรีคลาสสิกสกุลเวียนนาซึ่งเบโธเฟนสืบทอดมาจากไฮเดินและโมสาร์ทเข้ากับการแสดงอารมณ์เฉพาะตัวของเขา เบโธเฟนถึงแก่กรรม ณ กรุงเวียนนา
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1827 เบโธเฟนมีอิทธิพลที่แพร่หลายและลึกซึ้งต่อพัฒนาการของดนตรีในศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างสูง เบโธเฟนได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีที่มีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก

เบโธเฟนเป็นบุคคลที่มีบุคลิกแข็งกร้าวและซับซ้อน ผู้ที่รู้จักเบโธเฟนมักกล่าวถึงบุคลิกของเขาด้วยคำเช่น “ตรงไปตรงมา” “หัวรั้น” “เอาแน่ไม่ได้” และ “หยิ่งยโส” เบโธเฟนหลงใหลในธรรมชาติ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินท่องไปในเขตชานเมืองรอบๆ กรุงเวียนนาบ่อยครั้งที่เขาออกจากกรุงเวียนนาเพื่อเดินเล่นในชนบท เบโธเฟนประพันธ์เพลงส่วนใหญ่ในระหว่างการเดินของเขา ซิมโฟนีลำดับที่หกได้รับแรงบันดาลใจจากความหลงใหลในธรรมชาติอย่างล้ำลึก ต้นร่างของซิมโฟนีบทนี้ปรากฏขึ้นในปี 1802 และสำเร็จเสร็จสิ้นลงพร้อมๆ กับซิมโฟนีลำดับที่ห้าในปี 1808 ชื่อของซิมโฟนีบทนี้ “Pastoral” ถูกมอบให้โดยผู้ประพันธ์ในรายการแสดงรอบปฐมฤกษ์ โน้ตซึ่งถูกตีพิมพ์ในภายหลังปรากฏคำจารึก ‘Pastoral Symphony or Recollections of Life in the Country’ ซิมโฟนีลำดับที่หกเป็นหนึ่งในผลงานที่มีขนาดใหญ่และมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวมากที่สุด Pastoral ซิมโฟนีเป็นหนึ่งในตัวอย่างของผลงานชิ้นแรกๆ ที่เป็นที่รู้จักต่อมาในฐานะ ‘programme music’

ซิมโฟนีลำดับที่หกถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 ธันวาคม 1808 ณ. Theater an der Wien ในกรุงเวียนนา รายการแสดงในคืนนั้นประกอบด้วยดนตรีความยาว 4 ชั่วโมงครึ่งซึ่งเป็นผลงานของเบโธเฟนทั้งสิ้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงดนตรีครั้งที่ใหญ่ที่สุดของเขา บทเพลงที่ถูกนำออกแสดงประกอบด้วย ซิมโฟนีลำดับที่ห้า ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์เปียโนคอนแชร์โตลำดับที่สี่ ในบันไดเสียง จี เมเจอร์ (ออกแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา โดยเบโธเฟนเป็นผู้บรรเลงด้วยตนเอง) Scena and Aria Ah! perfido (op.65) และ “Choral Fantasy” (Op.80)

เบโธเฟนแบ่งซิมโฟนีบทนี้ออกเป็นห้ากระบวนแทนที่จะเป็นสี่กระบวนเหมือนกับซิมโฟนีทั่วไปในยุคคลาสสิกแต่ละกระบวนมีคำอธิบายประกอบดังนี้

I. Awakening of cheerful feelings on arrivingin the country.
โครงสร้างของกระบวนแรกเป็นแบบ Sonata-allegro ซึ่งเป็นมาตรฐานของเบโธเฟน พรรณนาถึง ความรู้สึก เปิกบานใจของผู้ประพันธ์เมื่อเดินทางถึงชนบท อารมณ์ โดยทั่วไปของกระบวนนี้มีลักษณะเบาสบาย เต็มไปด้วยทำนองและจังหวะที่แปลกใหม่

II. Scene by the brook.
กระบวนช้าพรรณาถึงความงามของธรรมชาติที่บอบบางเสียงของน้ำ สายลมที่พัดเบา ๆ และแสงอาทิตย์ระยิบระยับที่สะท้อนจากน้ำในช่วงท้ายของกระบวน
เบโธเฟนนำเสนอ Cadenza สำหรับเครื่องลมไม้ที่เลียนแบบเสียงนกร้อง เบโธเฟนจำแนกประเภทของนกในโน้ตเพลงดังนี้ ไนติงเกล (ฟลู้ท) นกกระทา (โอโบ)
และนกดุเหว่า (คลาริเนต)

III. Merry Assembly of Countryfolk.
กระบวนนี้พรรณนาถึงการเฉลิมฉลองของชาวชนบท การเต้นรำในแบบของชาวบ้านที่สนุกสนานพร้อมกับการกระทืบเท้าหนักๆ เบโธเฟนไม่เพียงหลงใหลในธรรมชาติ
แต่ยังรวมถึงวิถีชีวิตของชาวชนบท เบโธเฟนเชื่อในแนวคิดภราดรภาพและความเท่าเทียมกัน เบโธเฟนไม่เคยรู้สึกสะดวกสบายในห้องรับแขกของเหล่าขุนนางในกรุงเวียนนา กระบวนนี้จึงมีลักษณะที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับเพลงเต้นรำมินูเอทในแบบราชสำนัก

IV. Lightning, thunderStorm.
กระบวนที่สี่พรรณนาถึงพายุฝนฟ้าคะนอง ในกระบวนนี้เบโธเฟนกำหนดให้เครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลงในแบบที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน
การเล่นโน้ตเร็วๆ ในช่วงเสียงต่ำๆ ของเชลโลและดับเบิ้ลเบสทำให้เกิดเสียงก้องกังวานลึกเหมือนกับเสียงของพายุจากที่ห่างไกล การเคลื่อนของโน้ตจากต่ำไปหาสูงอย่างรวดเร็วบนไวโอลิน บรรยายภาพของแสงฟ้าผ่า และการเล่น arpeggiated tremolo บนเครื่องสายสะท้อนภาพของสายฝนและลม กระบวนนี้นับได้ว่าเป็นหนึ่งในกระบวนที่แสดงออกถึงพายุได้ดีที่สุดในวรรณกรรมสำหรับวงออร์เคสตรา

V. Shepherd’s Song - Happy, grateful feelings after the storm
โครงสร้างของกระบวนสุดท้ายอยู่ในรูปแบบ rondo variation ร่วมกับการเดี่ยวของฟลู้ท คลาริเนท และฮอร์น เมื่อพายุฝนได้จางหายไป
กระบวนสุดท้ายมีลักษณะที่เรียบง่าย สงบ และสง่างาม เริ่มต้นอย่างเบาๆ และค่อยๆ เร็วขึ้น และร่าเริงขึ้น กระบวนสุดท้ายจบลงด้วยอารมณ์ซาบซึ้งใจ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพลงแสดงการขอบคุณของคนเลี้ยงแกะ

Ludwig van Beethoven, German composer, was born in Bonn on 17 Dec 1770. Beethoven left his native city for Vienna in his early twenties.
He became pupil of some of the most distinguished Composers at the time including Joseph Haydn and Antonio Sarieri. In Vienna, Beethoven had become exceedingly popular and respected in fashionable circles as a composer and piano virtuoso. Beethoven’s style was a culmination of his exploration and development on the Viennese classical tradition he inherited from Haydn and Mozart with his personal expression. Beethoven died in Vienna on 26 March 1827. He had a profound and pervasive influence on the development of music in the 19th century. He is regarded as the most influential composer in the history of Western music.

Beethoven was a man with strong and complex personality, he was described as “frank”, “headstrong”, “erratic”, and “proud”.
Beethoven was a lover of nature, he spent a great deal of his time on walks in the countryside around Vienna. Frequently, he left Vienna to walk in rural locations. Beethoven did much of his composition during his daily walks. The Sixth Symphony was inspired by his deep love of nature. The first sketches of the symphony appeared as early as 1802, and was completed simultaneously with the famous Fifth Symphony in 1808. The title Pastoral was given by the composer himself on the programme. The published score later bore the inscription, ‘Pastoral Symphony Or Recollections of Life in the County. The Sixth Symphony was one of his largest and most characteristic works. The Pastoral Symphony is one of the very first examples of what became known as ‘programme music’.

The Sixth symphony was premiered on the evening of 22nd December 1808 at the Theater an der Wien in Vienna.
The programme of that evening consisted of four and a half hour of music all by himself. It was probably the grandest musical event in his life, featuring many masterpieces, for instance, the Fifth Symphony in C minor, the Fourth Piano Concerto in G major (Op. 58, first public performance in Vienna with Beethoven as soloist), the Scena and aria Ah! perfido (Op.65), and ‘Choral Fantasy’ (Op.80).

Beethoven spread the symphony out into five movements, rather than the four typical of symphonies of the Classical era.
Each movements was given a programmatic inscription annotated as followed:

I. Awakening of cheerful feelings on arriving in the Country.
This opening movement is in a Standard Beethoven Sonata-allegro form, depicting the Composer’s cheerful feelings as he arrives in the country. The overall mood is light, and full of melodic and rhythmic invention.

II. Scene by the brook.
This slow movement is a beautiful depiction of the delicate nature, the sounds of water, the breeze, the dappled sunlight sparkling off the water. Toward the end of the movement Beethoven introduced a cadenza for woodwind instruments that imitates birdcalls. Beethoven identified the bird species in the score: nightingale (flute), quail (oboe), and Cuckoo (two clarinets).

III. Merry Assembly of Countryfolk.
This movement depicts a scene of a peasant celebration, a joyful peasant Country dance with the heavy pounding of stomping feet. Beethoven felt in love not only with nature, but also with the country folk. In fact, Beethoven believed in the ideals of brotherhood and equality, and never felt comfortable in the drawing rooms of the Viennese aristocracy, thus this movement is directly opposed to the courtly minuet.

IV. Lightning, thunderstorm.
The fourth movement depicts a violent thunderstorm. In this movement, Beethoven uses many instruments in ways that are quite unusual. The rapid notes in their lowest range of cellos and basses produced a deep rumbling sound resembling distant thunder; rapid ascending notes of the violins depicted the brilliant flash of lightning, and the arpeggiated tremolo on strings portrayed the rain and Swirling Winds. This is probably one of the finest representations of a storm in orchestral literature.

V. Shepherd’s Song - Happy, grateful feelings after the storm
The finale is in rondo variation form, featuring solos by the flute, clarinet, and horn. As the storm fades away, this last movement is fairly simple, calm and elegance. It starts out quiet and soon gets faster and happier. The Pastoral Symphony ends in emotions of gratefulness, representing the Shepherds’ song of thanksgiving.



Conductor: Christoph Poppen
Sunday 26th October 2014 / 6.00 p.m.
at Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music