PROGRAM

Musique de la Vie et de la Terre

2nd CONCERT SEASON PYO SHOWCASE: WINDS

Symphonies of Wind Instruments “Symphonies d’instruments à vent” (1920, rev. 1947)
อีกอร์ สตราวินสกี
Igor Stravinsky (1882-1970)

อีกอร์ สตราวินสกี คีตกวีชาวรัสเซีย เกิดที่ Oranienbaum ปัจจุบันคือเมือง Lomonosov ใกล้ St. Petersburg เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1882
สตราวินสกีเป็นหนึ่งในคีตกวีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 สตราวินสกีทดลองใช้แทบทุกเทคนิคในการประพันธ์ดนตรีของศตวรรษที่ 20 ผนวกเข้ากับรูปแบบและการตีความซึ่งเป็นของตัวเอง นับแต่ neo-nationalism และ neo-classicism ตลอดจนถึง serialism สตราวินสกีมาจากตระกูลขุนนางเก่า แม่ของเขา Anna Kholodovskaya เป็นบุตรสาวของข้าราชการชั้นสูงใน Ministry of Estates แห่งเมือง Kiev และยังเป็นนักร้องและนักเปียโนฝีมือดีพ่อของเขา Fyodor Ignat’yevich Stravinsky เป็นทายาทของตระกูลขุนนางชั้นสูงจากโปแลนด์ แต่นับจากการแบ่งแยกประเทศโปแลนด์ในช่วงปี 1790 ครอบครัวสตราวินสกีสูญเสียที่ดินทั้งหมดและอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเบลารุส

ในปี 1899 สตราวินสกีเริ่มเรียนเปียโนกับ Leokadiya Kashperova ศิษย์ของ Anton Rubinstein ต่อมาในปี 1901 สตราวินสกีเข้าเรียนกฏหมายที่
มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ด้วยความตั้งใจที่แท้จริงของสตราวินสกีคือการศึกษาดนตรี ในช่วงนี้สตราวินสกีเริ่มศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสานและการสอดประสานแนวทำนองเป็น การส่วนตัวกับ Fedir Akimenko และ Vasily Kalafaty ทั้งคู่เป็นศิษย์ของ ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ที่คณะนิติศาสตร์ สตราวินสกี ได้พบและเป็นเพื่อนกับวลาดิเมียร์ ริมสกี-คอร์ซาคอฟ บุตรชายคนเล็กของ โคไล ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ในเดือนสิงหาคมปี 1902 สตราวินสกีได้พักอยู่กับครอบครัวริมสกี-คอร์ซาคอฟ และได้พบกับนิโคไล อีกทั้งได้นำเสนอผลงานการประพันธ์ของเขา ริมสกี-คอร์ซาคอฟ ดูเหมือนจะไม่ประทับใจในผลงานของสตราวินสกีเป็นพิเศษ ริมสกี-คอร์ซาคอฟไม่ได้สนับสนุนให้เขาเข้าเรียนต่อในสถาบันดนตรีเนื่องด้วยอายุและขาดประสบการณ์ในการประพันธ์อย่างไรก็ดี ริมสกี-คอร์ซาคอฟ เห็นว่าสตราวินสกีควรได้ศึกษาทฤษฎีดนตรีต่อไป และตัวเขายินดีที่จะให้คำปรึกษาด้านการประพันธ์ให้แก่สตราวินสกี

ภายหลังจากเหตุการณ์นองเลือดในวันอาทิตย์ปี 1905 ซึ่งผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบถูกยิงเข้าใส่ และประชาชนเสียชีวิตมากกว่า 100 คน
มหาวิทยาลัยปิดตัวลงเป็นการชั่วคราว เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้สตราวินสกีไม่ได้เข้ารับการสอบไล่ตามหลักสูตร สตราวินสกีไม่ได้กลับไปเรียนต่อและไม่สำเร็จการศึกษา (ในเดือนเมษายน ปี 1906 สตราวินสกีได้รับประกาศนียบัตรของการศึกษาครึ่งหลักสูตร) ในทางกลับกันสตราวินสกีทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนดนตรีอย่างจริงจัง เขาเรียนดนตรีเป็นการส่วนตัวกับริมสกี-คอร์ซาคอฟ จนกระทั้งริมสกี-คอร์ซาคอฟ เสียชีวิต ในปี 1908 สตราวินสกีให้ความเคารพริมสกี-คอร์ซาคอฟเสมือนพ่อคนที่สองของเขา

Symphonies of Wind Instruments เป็นบทประพันธ์สำหรับเครื่องลมไม้ และเครื่องเป่าทองเหลือง ในหนึ่งกระบวน ประพันธ์ขึ้นในปี 1920
สตราวินสกีอุทิศผลงานชิ้นนี้ให้แก่ โคลด เดอบุสซี ผู้เป็นทั้งเพื่อนผู้ให้คำปรึกษา และผู้ร่วมงาน ซึ่งถึงแก่กรรมในปี 1918 Symphonies of Wind Instruments เป็นบทประพันธ์สำหรับวงขนาด 24 เครื่อง ประกอบด้วย ฟลูต (3) อัลโตฟลูต (1) โอโบ (2) อิงลิชฮอร์น (1) คลาริเน็ต (2) อัลโต คลาริเน็ต ในคีย์เอฟ (1) บาสซูน (2) คอนทรา-บาสซูน (1) ฮอร์น (4) ทรัมเป็ต (3) ทรอมโบน (3) และทูบา (1) บทประพันธ์นี้แบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลัก เริ่มต้นด้วยส่วนนำซึ่งประกอบด้วยทำนองเพลงพื้นบ้านของรัสเซีย ส่วนที่สองเป็นเพลงเต้นรำที่สนุกสนานและตามด้วยส่วนที่สามและสี่ที่เรียบง่ายและสวยงามอันเป็นการรำลึกถึงเดอบุสซี งานชิ้นนี้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ Queen’s Hall ในกรุงลอนดอน อำนวยเพลงโดย Serge Koussevitzky เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน1921

ในช่วงปี 1940 สตราวินสกีได้เริ่มทบทวนบทประพันธ์ดั้งเดิมของเขา การปรับปรุง Symphonies of Wind Instruments ในปี 1947 นำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน สตราวินสกีได้ปรับปรุงความกังวาลของเสียง และเพิ่มสีสันของเสียงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในงานยุคแรกของเขาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สตราวินสกีพิจารณาปรับรูปแบบการควบคุมจังหวะและแก้ไขลักษณะของประโยคเพลงที่ไม่สม่ำเสมอให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น รวมถึงปรับการแบ่งห้องเพลงทั้งหมด ด้านการเรียบเรียงเสียงวงดนตรี สตราวินสกียกเลิกการใช้อัลโตฟลูต และแทนที่อัลโตคลาริเน็ตด้วยคลาริเน็ต ลดจำนวนผู้บรรเลงเหลือ 23 คนประกอบด้วยเครื่อง ฟลูต (3) โอโบ (2) อิงลิชฮอร์น (1) คลาริเน็ต (3) บาสซูน (2) คอนทราบาสซูน (1) ฮอร์น (4) ทรัมเป็ต (3) ทรอมโบน (3) และทูบา (1) สตราวินสกีอำนวยเพลงบทประพันธ์ฉบับปรับปรุงนี้ด้วยตนเองเป็นครั้งแรกที่ Town Hall ในกรุงนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 11 เมษายน 1948


Igor Stravinsky, Russian composer, was born in Oranienbaum (now Lomonosov), near St.Petersburg on 5/17 June 1882.
Stravinsky is one of the most influential composers of the 20th century. Stravinsky experimented on almost every styles of music in the 20th century with his personal styles and interpretations, ranging from the neo-nationalism and the neo-classicism, through to the serialism. Stravinsky came from a noble family. His mother, Anna Kholodovskaya, was a daughter of a high-ranking official in the Ministry of Estates in Kiev and also a fine domestic singer and pianist. His father, Fyodor Ignat’yevich Stravinsky, descended from the Polish grandees, senators and landowners. But since the partition of Poland in the 1790s the Stravinskys had lost their lands and gradually migrated into a remote region of what is now south-eastern Belarus’.

In December 1899, he began piano lesson with Leokadiya Kashperova, a pupil of Anton Rubinstein. In 1901, Stravinsky entered
St. Petersburg University as a law student. Since his real wish was to study music, he started private lessons in harmony and counterpoint with Fedir Akimenko and Vasily Kalafaty both former students of Rimsky-Korsakov. At the law faculty Stravinsky met and befriended Vladimir Rimsky-Korsakov, Nikolai Rimsky-Korsakov’s youngest son. In August 1902, Igor stayed with Rimsky-Korsakov family where he met the composer and introduced his portfolio of short pieces. Rimsky-Korsakov may not seem to be wildly impressed by his works. Rimsky-Korsakov did not advise him entering the Conservatory due to his age and lack of training, but insisted that Stravinsky continue his theory lessons, and agreed to oversee his compositions himself.

After the Bloody Sunday in 1905, when a peaceful demonstration of workers were fired upon and more than 100 were killed,
the university was temporary closed. The incident prevented Stravinsky from taking his final law examinations. He never return to the university nor graduate, later in April 1906 he received a half-course diploma. Instead, Stravinsky began to concentrate on studying music, he took private lessons with Rimsky-Korsakov and continued until the composer’s death in 1908. Stravinsky regarded Rimsky-Korsakov as his second father..

The Symphonies of Wind Instruments is an ensemble work for woodwind and brass instruments in one movement written in 1920. It is dedicated to the memory of his admired colleague, mentor and friend, Claude Achille Debussy, who died in 1918. The Symphonies was originally scored for an ensemble of 24 instruments: 3 flutes, alto flute, 2 oboes, English horn, 2 clarinets, alto clarinet in F, 2 bassoons, 1 contrabassoon, 4 horns, 3 trumpets, 3 trombones, and tuba. The work is cast in three sections, beginning with an exposition which includes several Russian folk melodies. The second section is a wild Russian dance, and the third and final section is the austere and beautiful chorale commemorating Debussy. The premiere was given at Queen’s Hall in London on 10th June 1921, conducted by Serge Koussevitzky.

During the 1940s, Stravinsky began to revise his earlier works, and the 1947 revision of Symphonies of Wind Instruments
brought substantial differences. Stravinsky improved the resonance and strengthen the color that were characteristic of his early work. He entirely reassessed the rhythmic articulation, broke down its irregular phrases into simpler units, and re-barred the entire work. The only change in the orchestration was to remove the alto flute and replaced the alto clarinet with clarinet. The revised version requires 23 players: 3 flutes, 2 oboes, English horn, 3 clarinets, 2 bassoons, contrabassoon, 4 horns, 3 trumpets, 3 trombones, and tuba. Stravinsky conducted the revised version of the Symphonies of Wind Instruments by himself for the first time at the Town Hall in New York on 11th April 1948.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

PYO CALL FOR SCORE was initiate in 2014 with the aim to promote new generation composers in their creative endeavor
and allowing them to explore new possibilities through their experience working with Our talent young musicians of PYO. With a careful selection procedure, the piece were selected by the conductor, Maestro Peter Veale of the Studio Musikfabrik, based on their creativity, artistic quality and the musical challenges it offer, thus giving the opportunity to our PYO members to learn new performing techniques and new sonic possibilities that new compositions can offer.


Lux Ardens (“The Burning Light”)
ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ
Piyawat Louilarpprasert (1993–present)

บทเพลงบรรยายถึง “เส้นแสง” จากจุดกำเนิดถึงจุดสิ้นสุด ในจินตนาการของผู้ประพันธ์ มันคือแสงเส้นเล็กบาง ทว่าพลังอัดแน่นเข้มข้น
มีประกายแสงยิบยับนับไม่ถ้วนห่อหุ้มอยู่รอบนอก บทเพลงแบ่งออกเป็น 4 ตอน เริ่มต้นด้วยกลุ่มเครื่องลมไม้บรรเลงโน้ตเล็กๆ เหมือนประกายไฟจำนวนมากสว่างเจิดจ้า เป็นเหมือน ภาพวาบแรกแห่งการก่อกำเนิด พอเข้าตอนต่อมาสภาพแวดล้อมคืออนธการสัมบูรณ์ ผู้ฟังจะได้ยินเสียงโน้ตจากกลุ่มเครื่องลมไม้กอดกระหวัดเกี่ยวพันกันอย่างช้าเชือน จนค่อยๆ เห็นเป็นรูปเป็นร่าง แสดงถึงแสงที่เริ่มก่อตัว มีเสียงโลหะเล็กๆ ที่ใส่อยู่ในอุปกรณ์เบาเสียงของทรอมโบน เป็นเหมือนเสียงประกายไฟที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ดนตรีค่อยๆ ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ตอนต่อมา แสงสว่างจ้าอย่างแท้จริง แสงเจิดจรัสยาวนานจนกระทั่งค่อยๆ ดับลง กลับเข้าสู่สภาวะมืดมิดแห่งการก่อกำเนิดอีกครั้ง บทเพลง Lux Ardens ประพันธ์ขึ้นมาสำหรับเครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลือง ไม่มีเครื่องประกอบอื่นใด ทว่าสามารถสร้างสีสันตื่นตาได้อย่างน่าสนใจ และบุกเบิกพรมแดนใหม่ของการประพันธ์ดนตรีสำหรับวงเครื่องลม


To My imagination, Lux Ardens (“The Burning Light”) is a ray of light which emits thin but intense aura, with countless sparkles around it.
This piece, consisting of four sections, is the attempt to depict this light. With myriad grace notes, trills, and fast moving gestures, the first section portrays the flashing “sparkles”. The music in the second section is soft and calm. The notes in woodwinds start to interweave and form micro polyphonic texture as if, from the utmost darkness, faint gleam of light is gradually getting brighter. Here, trombone’s mute, filled with small objects, shaken and thus creating the metallic sound of countless clashes, depicting the microscopic sparkles. The light is actually burning and blazing in the third section, where all the materials are developed and brought to its peak by the whole ensemble playing intense aleatoric passage. In the final section, everything resolves as if the light is gradually extinguishing. The stage light follows the depictions in the music.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Et exspecto resurrestionem mortuorum (1964)
โอลิเวียร์ เมสเซียน
Olivier Messiaen (1908-1992)

โอลิเวียร์ เมสเซียน นักออร์แกน คีตกวี และครูดนตรี ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1908 ที่เมือง Avignon ในครอบครัวที่มีการศึกษา
บิดาของเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมอังกฤษ และมารดาของเขาเป็นกวี ความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีของเมสเซียน เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่ยังอายุน้อย เขาเริ่มประพันธ์เพลงเมื่ออายุได้ 7 ปี และหัดเล่นเปียโนด้วยตนเอง เมื่ออายุได้ 11 ปี เขาเริ่มเข้าเรียนที่ Paris Conservatory เขาได้ศึกษาการบรรเลงเปียโน ออร์แกน และการประพันธ์กับผู้เชียวชาญอาทิ Paul Dukas, Maurice Emmanuel, Charles-Marie Widor และ Marcel Dupré ในปี 1931 เขาเริ่มทำงานในฐานะนักออร์แกนประจำโบสถ์ Église de Sainte-Trinité ในปารีส ต่อมาในปี 1932 เมสเซียนแต่งงานกับนักไวโอลิน Claire Delbos และมีบุตรชายด้วยกันในอีก 5 ปีต่อมา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยแพทย์ทหารในปี 1940 เขาถูกจับในฐานะเชลยสงคราม ในระหว่างที่อยู่ในค่ายกักกันเขาได้ประพันธ์หนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด Quatuor pour la fin du temps (“Quartet for the end of time”) สำหรับวงขนาดสี่เครื่อง ประกอบด้วย เปียโน ไวโอลิน เชลโลและคลาริเน็ต บทประพันธ์นี้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้ง แรกโดยเมสเซยี นและเพื่อนที่ถูกคุมขังโดยมีผู้ฟังเป็นเชลยสงครามที่เหลือและผู้คุม

หลังจากที่ถูกปล่อยตัวในปี 1941 เมสเซียนกลับเข้าทำงานที่ Sainte-Trinité และเริ่มสอนที่ Paris Conservatoire ทั้งสองตำแหน่ง
เป็นงานที่เมสเซียนทำจนกระทั่งเกษียณในปี 1978 ในช่วงปลายสงคราม ภรรยาของเขาเริ่มมีปัญหาสุขภาพ และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1959 ในฐานะครูเขาได้สร้างลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียง อาทิ Quincy Jones, Pierre Boulez, Karlheinz Stockhausen และ Yvonne Loriod นักเปียโนผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นภรรยา คนที่สองของเขาในปี 1961 เมสเซียนเป็นนักเดินทางและได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย แต่ดนตรีส่วนใหญ่ของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากความเชื่อคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค Turangalîla-Symphonie (1948) เป็นหนึ่งในบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราที่สำคัญที่สุดของเขา บทประพันธ์นี้ประกอบด้วยการเดี่ยวเปียโนที่โดดเด่น เครื่องประกอบจังหวะที่บรรเลงในกระบวนแบบของ วงกาเมลัน อินโดนีเซีย พร้อมกับเครื่องดนตรีไฟฟ้า อุปรากร เพียงเรื่องเดียวของเขา St. François d’Assise ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ Paris Opera ในปี 1983 กล่าวได้ว่าเมสเซียนเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในศตวรรษที่ 20

Et exspecto resurrectionem mortuorum (ข้าพระองค์รอคอยการกลับมีชีวิตใหม่) เป็นบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราซึ่งประกอบด้วยเครื่องลมไม้
เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีโลหะ ใน 5 กระบวน ประพันธ์ขึ้นในปี 1964 André Malraux รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นักเขียน และนักทฤษฎีศิลปะ เป็นผู้มอบหมายให้เมสเซียนให้ประพันธ์ผลงานชิ้นนี้เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง งานนี้นับเป็นงานสำคัญที่ช่วยตอกย้ำสถานะของเมสเซียนในวงการศิลปวัฒนธรรมฝรั่งเศส บทประพันธ์นี้ถูกออกแบบเพื่อใช้แสดงในที่กว้าง อาทิ โบสถ์ หรือในสถานที่เปิดโล่ง Et exspecto resurrectionem mortuorum รำลึกถึงผู้วายชนม์ด้วยการประกาศชัยชนะเหนือความตายโดยการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ ดนตรีมีการแสดงสัญลักษณ์เป็นอย่างสูง แต่ละกระบวนมีบทนำจากพระคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเมสเซียนได้อธิบายไว้โดยละเอียดเมื่อบทประพันธ์นี้ได้รับการตีพิมพ์

กระบวนแรก Des profondeurs de l’abîme je crievers toi, Seigneur: Écoute ma voix!
(จากเบื้องลึกที่มืดมิด ข้าพระองค์อ้อนวอน โปรดรับฟังเสียงของข้าพระองค์) เป็นกระบวนที่ช้าและเศร้าหมอง เป็นตัวแทนของเสียงร้องของวิญญาณ กระบวนที่สอง Le Christ, ressuscité des morts, ne meurt plus; la mort n’a plus sur lui l’empire (พระคริสต์กลับคืนพระชนม์ความตายไม่อาจอยู่เหนือพระองค์ได้) เป็นการพรรณาถึงการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ กระบวนที่สาม L’heure vientoù les morts entendront la voix du Fils de Dieu… (เมื่อยามที่คนตายได้ยินเสียงของพระบุตรแห่งพระเจ้า… ) ในตอนเริ่มต้น ของกระบวนนี้ ประกอบด้วยเสียงร้องของนก Uirapuru นกจากป่าอเมซอน ตำนานเล่าว่าคนทั่วไปจะได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้ต่อเมื่อก่อนที่จะตายเท่านั้น กระบวนที่สี่ Ils ressusciteront, glorieux, avec un nom nouveau - dans le concert joyeux des étoiles et les acclamations des fils du ciel (เจ้าจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง พร้อมด้วยนามใหม่ ท่ามกลางเสียงดนตรีแห่งดวงดาวและความยินดีของบุตรแห่งสวรรค์) เป็นการเฉลิมฉลองการกลับมีชีวิตของคนตายกระบวนที่ห้า Et j’entendis la voix d’une foule immense … (และข้าพระองค์ได้ยินเสียงของหมู่ชน … ) เป็นกระบวนที่ทรงพลังและสง่างามเป็นตัวแทนของชัยชนะเหนือความตายโดยการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ บทประพันธ์นี้ถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1965 ที่ La Sainte-Chapelle ในกรุงปารีส Paris อำนวยเพลงโดย Serge Baudo ตามด้วยการแสดงที่ Chartres Cathedral และโรงละคร Théâtre de l’Odéon


Olivier Messiaen, French organist, composer and teacher, was born on 10 December 1908, in Avignon into a literary family.
His father was an eminent scholar of English literature and his mother was a poet. Messiaen displayed a precocious musical talent from an early age, he began composing at age seven, and taught himself to play the piano. At 11 year of age, he entered the Paris Conservatory, where he studied piano, composition and organ with masters like Paul Dukas, Maurice Emmanuel, Charles-Marie Widor and Marcel Dupr.. In 1931, he served as organist at the Church of the .glise de Sainte-Trinit. in Paris. In 1932, Messiaen married the violinist Claire Delbos and they had a son five years later. During the World War II, while serving as a medical auxiliary in 1940, Messiaen was captured as a prisoner of war. At the camp, he composed one of his most famous Works Quatuor pour la fin du temps (“Quartet for the end of time”) for the four instruments – piano, violin, cello and clarinet. The piece was given its first performance by Messiaen and fellow prisoners for an audience of inmates and prison guards.

After his release in 1941, Messiaen resumed his post at Sainte-Trinité and took up a Professorship at the Paris Conservatoire,
positions he held until his retirement in 1978. Towards the end of War his wife developed health problems, and she was hospitalised until her death in 1959. As a teacher, his distinguished pupils included Quincy Jones, Pierre Boulez, Karlheinz Stockhausen and Yvonne Loriod, the pianist who became his second Wife in 1961. Messiaen travelled widely and inspired by diverse influences, yet much of his music was inspired by Roman Catholic faith. TurangasilaSymphonie (1948) is one of his most important Orchestral Works, containing a prominent piano Solo and percussion instruments performed in the manner of the Indonesian gamelan orchestra, along with an electronic instrument. His only opera St. François d’Assise was premiered at the Paris Opera in 1983. He was one of the major composers of the 20th century.

Et exspecto resurrectionem mortuorum (And I wait for the resurrection of the dead) is scored for an Orchestra of woodwind,
brass and metal percussion in five movements written in 1964. It was commissioned by André Malraux, the French Minister of Cultural Affairs, novelist and art theorist, to commemorate the dead of the two World Wars. This was an extremely prestigious Commission that confirmed Messiaen’s position in the French cultural establishment. The piece was designed to be performed in vast spaces like churches, cathedrals or the open air. Et exspecto resurrectionem mortuorum commemorates the dead through the transcendence of the Resurrection of Christ. The music is highly symbolism, with each movement prefaced by a quotation from the Bible, which is explained by Messiaen in detailed notes in the published Score.

The first movement, Des profondeurs de l’abîme je crie vers toi, Seigneur: Écoute ma voix! (Out of the depths I call to thee,
O Lord: hear my voice!), is gentle and gloomy, representing the Cries of Souls. The Second movement, Le Christ, ressuscité des morts, ne meurt plus; la mort n’ a plus sur lui s’empire (Christ, risen from the dead, no longer dies; death has no dominion over him), is a description of the Resurrection of Christ. The third movement, L’heure Vient où les morts entendront la voix du Fils de Dieu ... (The time comes when the dead shall hear the Voice of the Son of God...), describes the moment when the dead hear the voice of the Son of God. The beginning of the movement features the song of the Uirapuru, a bird of the Amazonian jungle, which according to legend is only heard before death. The fourth movement, Ils ressusciteront, glorieux, avec un nom nouveau - dans le concert joyeux des étoiles et les acclamations des fils du ciel (They shall rise again in glory, with a new name – in the joyful music of the stars and theacclamations of the sons of heaven), celebrates the rising of the dead. The fifth movement, Et j’entendis la voix d’une foule immense ... (And I heard the sound of a great crowd...), is powerful and majestic, epresenting the transcendence of death through the Resurrection. The work was given its première on 7 May 1965 at La Sainte- Chapelle in Paris conducted by Serge Baudo, with subsequent performances in Chartres Cathedraland the Théâtre de l’Odéon.


Winner of PYO Call for Scores 2015: Piyawat Louilarpprasert
Conductor: Peter Veale
Sunday 2nd August 2015 / 4.00 p.m.
at Sangita Vadhana Hall, Princess Galyani Vadhana Institute of Music