3rd CONCERT SEASON IN MEMORY OF HRH PRINCESS GALYANI VADHANA
The Festive Overture
Dmitri Shostakovich (1906–1975)
ดมิทริ ชอสตาโกวิช เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ชาญฉลาดและกล้าหาญมากที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20
เนื่องด้วยสถานการณ์ที่ทำให้เขาต้องยืนหยัดภายใต้อำนาจการปกครองของ โจเซฟ สตาลิน ในเวลานั้นศิลปินสามารถถูกตัดสินลงโทษได้อย่างง่ายดาย เพียงเพราะการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสภาพการกดขี่ข่มเหงของรัฐ ศิลปินทั้งหลายถูกตีกรอบการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สอดคล้องกับหลักการของสตาลิน การละเมิดอาจนำไปสู่การลงโทษตั้งแต่จำคุกจนถึงประหารชีวิต นับแต่ โจเซฟ สตาลิน ถึงแก่กรรมในวันที่ 5 มีนาคม 1953 ชีวิตของศิลปินโซเวียตค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการควบคุมดังกล่าวได้ถูกผ่อนคลายลง The Festive Overture ถูกประพันธ์ขึ้นในปีถัดมาเมื่อชอสตาโกวิชได้รับการร้องขอให้ประพันธ์บทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราขนาดสั้น เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 37 ปีแห่งการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปี 1917 ที่โรงละคร Bolshoi ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1954 การร้องขอดังกล่าวมาถึงเพียงสามวันก่อนการแสดงเนื่องจากวาทยกรตระหนักว่ายังขาดบทเพลงเปิดการแสดงที่เหมาะสม บทเพลงโหมโรงบทนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นอย่างเร่งด่วน The Festive Overture เป็นประพันธ์สั้นๆ ที่สดใสร่าเริง เต็มไปด้วยทำนองที่ตราตรึงใจและเสียงประสานที่เรียบง่าย เป็นตัวอย่างของการโฆษณาชวนเชื่อภายใต้การปกครองของโซเวียต ที่มุ่งเน้นการใช้รูปแบบทำนองและเสียงประสานที่เรียบง่ายเพื่อสะท้อนภาพความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตในแบบของโซเวียต
Dmitri Shostakovich is one of the most ingenious and courageous composers of the 20th century due to the circumstances he had to endure under the reign of Joseph Stalin. At the time, creative artists could be simply persecuted for being outspoken about the oppressive conditions. All artistic works were expected to be created in accordance with the Stalin’s principles in which any violation could lead to imprisonment or death penalty. Josef Stalin died on 5th March 1953, and the life of Soviet artists began to change since the tight controls were gradually relaxed. The Festive Overture was written in the following year as Shostakovich received an unexpected request to write a short orchestral piece for celebrating the 37th anniversary of the 1917 October Revolution at the Bolshoi Theatre on 6 November 1954. The request came just three days before the concert as the conductor realized they lacked a suitable opening piece, thus the work was written in an astonishing speed. The Festive Overture is a short but brilliant and exuberance work filled with catchy melodies and straightforward harmony, it is a perfect example of the Socialist regime’s propaganda for simple tunes and simple harmony reflecting the good fortune of life in the Soviet idyll.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Violin Concerto No. 1, Op. 99
Dmitri Shostakovich (1906–1975)
ชอสตาโกวิชประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในระหว่างปีค.ศ. 1947-48 แต่เก็บผลงานชิ้นนี้ไว้เนื่องจากความไม่เอื้ออำนวยของสถานการณ์การเมืองในสมัยนั้น
ในที่สุดผลงานชิ้นนี้ก็ได้ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1955 โดยนักไวโอลินเอกชาวรัสเซีย เดวิด ออยสตราค ผู้ที่ชอสตาโกวิชอุทิศเพลงนี้ให้ บรรเลงร่วมกับวงดุริยางค์เลนินกราด ฟีลฮาร์โมนิก ภายใต้การควบคุมวงของเยฟเกนี มราวินสกี การแสดงรอบปฐมทัศน์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและได้รับเสียงปรบมือยาวนานสองเดือนต่อมาออยสตราคได้นำบทเพลงนี้ไปแสดงในการเดินสายคอนเสิร์ตครั้งแรกของเขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยแสดงร่วมกับวงดุริยางค์นิวยอร์ค ฟีลฮาร์โมนิก ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม
กระบวนที่หนึ่ง ภายใต้ชื่อ “นอกเทิร์น” สร้างบรรยากาศยามราตรีด้วยการเน้นบรรเลงเสียงดนตรีที่ฟังดูมืดมน ในกระบวนที่สองเป็นลักษณะสแกรโซ ที่รวดเร็ว ไม่ระย่อ ในท่อนนี้ชอสตาโกวิชได้แฝงโมธีฟ D-S-C-H ที่ประกอบด้วยโน้ต D, E-flat, C (ในภาษาเยอรมันจะเป็นโน้ต D-Es-C-H)และB ที่แทนชื่อย่อภาษาเยอรมันของเขา D. Schostakowitsch ชอสตาโกวิชได้ใช้โมธีฟนี้ในบทเพลงอื่นของเขาเช่นกัน อาทิ เชลโลคอนแชร์โตหมายเลขหนึ่งในบันไดเสียง อีแฟลต เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 107 ซิมโฟนีหมายเลขสิบ ในบันไดเสียงอีไมเนอร์ ผลงานลำดับที่ 93 สตริง ควอเตต ผลงานลำดับที่ 101 และ 110 ชอสตาโกวิชได้นำลักษณะพาสซากาเลียในรูปแบบบาโรคมาประยุกต์ใช้ในกระบวนที่สาม โดยใช้เสียงเชลโลและดับเบิลเบสเล่นแนวเบสหลักที่มีความยาวถึง 17 ห้อง บทเพลงจะดำเนินเข้มข้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงคาเดนซาอันยิ่งใหญ่ที่นักไวโอลินต้องเล่นแสดงฝีไม้ลายมือคนเดียว โดยจะนำเข้าสู่กระบวนสุดท้ายที่ระทึกใจทันที แม้แต่นักไวโอลินฝีมือฉกาจอย่างออยสตราคยังต้องวอนให้ชอสตาโกวิชช่วยดัดแปลงให้วงออร์เคสตราบรรเลงตอนต้นของท่อนสุดท้ายเพื่ออย่างน้อยที่สุด “ให้ผมสามารถเช็ดเหงื่อที่หน้าผากได้” หลังจากที่เล่นคาเดนซามหาโหด
In 1947-48 Shostakovich composed his first violin concerto, but kept it to himself because of the political circumstance. After Stalin’s death, it was finally premièred on 29 October 1955 by a great Russian violinist David Oistrakh, whom the composer dedicated this piece for, with the Leningrad Philharmonic Orchestra under the baton of Yevgeny Mravinsky. The first performance was a huge success and received a long ovation. Two months later Oistrakh took it on his first concert tour in the United State of America with the New York Philharmonic Orchestra.
The first movement, “Nocturne”, is evocative of the night and is emphasized on dark instrumental colors.
In the second movement, a relentless Scherzo, Shostakovich used his ironic motif D-S-C-H, consisting of four notes D, E-flat, C, B or in German musical notation D, Es, C, H, to present the German transliteration of his name D. Schostakowitsch. This motif is always being transposed rather than using it at the original pitch. One can find this motif in many of his compositions such as Cello Concerto No. 1 in E-flat Major, op. 107, Symphony No. 10 in E minor, op. 93, String quartets op. 101 and 110. For the third movement, Shostakovich applied the Baroque passacaglia form. Instead of 4 bars period of ostinato, this last movement ostinato, displayed seriously by cello and double bass, is 17 bars long. The theme develops through various ranges of instrumental sound and concludes with enormous solo cadenza followed immediately by the Burlesca Finale with a furious coda. Even Oistrakh asked Shostakovich to consider letting the orchestra take over the opening of the last movement so that “at least I can wipe the sweat off my brow.”
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Symphonic Dances from West Side Story
Leonard Bernstein (1918–1990)
เบิร์นสไตน์เป็นนักประพันธ์ วาทยกร นักเปียโน ครูและนักเขียนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20
เขาเป็นผู้อำนวยการดนตรีประจำวงนิวยอร์กฟีลฮาร์โมนิกออร์เคสตราตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 ถึง 1969 และได้รับเชิญไปกำกับวงออร์เคสตราที่โด่งดังของโลก เขามีพรสวรรค์อย่างมากในการแต่งเพลงทั้งในรูปแบบเพลงละครเวทีบรอดเวย์และเพลงคอนเสิร์ตละครเวทีบรอดเวย์ที่โด่งดังที่สุดของเขาได้แก่ เวส ไซด์สตอรี บทเพลงสำหรับออร์เคสตราได้แก่ซิมโฟนีสามบท เซเรเนด ไดเวอร์ทิเมนโตสำหรับออร์เคสตราและคอนแชร์โตสำหรับออร์เคสตรา นอกจากนี้เบิร์นสไตน์ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ 11 รางวัลเอมมี (Emmy Awards) รางวัลโทนี (Tony Award, 1969) เกียรติยศแห่งศูนย์เคนเนดี Kennedy Center Honors (1980) เหรียญทองจากอเมริกันอคาเดมีด้านศิลปะและวรรณกรรม (American Academy of Arts and Letters’ Gold Medal, 1981) เป็นต้น
เวสท์ ไซด์ สตอรี เป็นเรื่องราวของแก๊งวัยรุ่นอเมริกันสองกลุ่มที่เป็นคู่อริกัน แก๊งเจ็ต (Jets) โดยมีริฟฟ์เป็นหัวหน้ากลุ่มและ แก๊งชาร์ก (Sharks)
ที่มีแบร์นาร์โดเป็นหัวโจกทั้งสองกลุ่มได้ประจันหน้าต่อสู้กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ทว่าโทนี่ผู้นำคนก่อนของแก๊งเจ็ตซึ่งเป็นเพื่อนของริฟฟ์กลับมาตกหลุมรัก มาเรีย น้องสาวของ แบร์นาร์โด หัวหน้าแก๊ง ฝ่ายตรงข้าม เรื่องราวความรักท่ามกลางความบาดหมางจึงเกิดขึ้น และจบลงด้วยโศกนาฏกรรม เวสท์ ไซด์ สตอรี่ เป็นละครบรอดเวย์ ออกแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อปี ค.ศ. 1957 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ อีกทั้งยังได้นำมาเรียบเรียงเป็นบทเพลงชุดสำหรับบรรเลงวงออร์เคสตรา โดย ซิด รามิน (Sid Ramin), เอียร์วิน คอสทาล (Irwin Kostal) และ ลิโอนาร์ด เบิร์นสไตน์ (Leonard Bernstein) โดยออกแสดงครั้งแรกที่คาร์เนกี้ฮอลล์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961 โดยมีลูคัสฟอซ (Lukas Foss) เป็นวาทยกร
เพลงชุดนี้ประกอบด้วยกันทั้งหมด 9 ท่อน ดังนี้
Prologue (Allegro moderato)
ความบาดหมางที่ร้อนแรงขึ้นระหว่างกลุ่มเจตและชาร์ก
Somewhere (Adagio)
ในบัลเลต์แห่งความฝันทั้งสองกลุ่มปรองดองกันด้วยมิตรภาพ
Scherzo (Vivace e leggiero)
ในความฝันเดียวกัน ทั้งสองกลุ่มหนีออกจากกำแพงเมือง แล้วก็พบว่าพวกเขาอยู่ในโลกแห่งอิสระที่แสนสุข
Mambo (Meno Presto)
กลับมาที่โลกแห่งความจริงอีกครั้ง การเต้นรำท้าประลองกันในโรงยิมของทั้งสองกลุ่ม
Cha-cha (Andantino con grazia)
โทนี่ และ มาเรีย พบกันเป็นครั้งแรก ทั้งสองเต้นรำด้วยกัน
Meeting Scene (Meno mosso)
ดนตรีบรรเลงคลอประกอบการสนทนากันเป็นครั้งแรกของตัวละครทั้งสอง
Cool Fugue (Allegretto)
ระหว่างการเต้นรำต่อเนื่องที่ละเอียดอ่อน ริฟฟ์ได้ยุยงกลุ่มเจตให้เป็นศัตรูกับคู่อริด้วยลักษณะท่าทางที่เย็นชา
Rumble (Molto allegro)
บรรยากาศสมรภูมิการต่อสู้กันระหว่างหัวหน้ากลุ่มทั้งสอง การจบชีวิตของริฟฟ์และเบอร์นาร์โด
Finale (Adagio)
มาเรียกล่าว “ฉันมีความรักที่พัฒนาจนดำเนินต่อไปซึ่งระลึกถึงมโนภาพของที่แห่งหนึ่ง”
Bernstein was one of the most successful American composer, conductor, pianist, teacher and writer in the 20th century.
He was Music Director of the New York Philharmonic Orchestra from 1958 to 1969 and conducted world’s renown orchestras. He is a highly gifted composer for both Broadway stage and concert music. Among his Broadway musical, West Side Story is the best known. His orchestral works include three symphonies, Serenade, Divertimento for Orchestra and Concerto for Orchestra. Bernstein also received many honors, including 11 Emmy Awards, Tony Award (1969), Kennedy Center Honors (1980), the American Academy of Arts and Letters’ Gold
Medal (1981), Tony Award (1969) etc.
West Side Story is a story about two rival gangs of American teenagers; the Jets, led by Riff, and the Sharks, led by Bernardo. Tony, a friend of Riff, who was a former head of the Jets fell in love with Maria, Bernardo’s sister. The Love story among the battle ends with tragic
West Side Story is a Broadway musical that performed a world premiere in 1957. Later, Leonard Bernstein with the help of Sid Ramin, and Irwin Kostal, rearranged and re-orchestrated the musical as an orchestral suite titled “Symphonic Dances”. This orchestral version was conducted for the first time at the Carnegie Hall in the United States of America on 13 February 1961 under the baton of Lukas Foss.
There are nine movements as followed:
Prologue (Allegro moderato)
The growing rivalry between gangs, the Jets and the Sharks.
Somewhere (Adagio)
In a dream ballet, the two gangs are united in friendship.
Scherzo (Vivace e leggiero)
In the same dream, the gangs break away from the city walls, suddenly finding themselves in a playful world of space, air and sun.
Mambo (Meno Presto)
In the real world again, the competitive dance at the gym between the gangs.
Cha-cha (Andantino con grazia)
The star-crossed lovers Tony and Maria see each other for the first time; they dance together.
Meeting Scene (Meno mosso)
Music accompanies their first words spoken to one another.
Cool Fugue (Allegretto)
An elaborate dance sequence in which Riff leads the Jets in harnessing their impulsive hostility, figuratively “cooling theirs jets.”
Rumble (Molto allegro)
Climactic gang battle; the two gang leaders, Riff and Bernardo, are killed.
Finale (Adagio)
Maria’s I Have a Love develops into a procession, which recalls the vision of Somewhere. [Jack Gottlieb]
Conductor: Norman Huynh
Soloist: Thaveevet Srinarong
Visual Artist: Dr. Jean David Caillouët
Performed by: Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra
Thursday 28th January 2016 / 7.00 p.m. at Thailand Cultural Center, Main Hall