การประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนการประชุมวิชาการ (Pre-Congress Workshop) เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพทางดนตรี ในหลากหลายมิติ ผ่านการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและการแสดงดนตรี โดยมีหัวข้อที่ครอบคลุมแนวคิดด้านการศึกษา วัฒนธรรม เทคโนโลยี และความร่วมมือทางดนตรีในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับนานาชาติ ประกอบไปด้วย
1) Music Education in ASEAN Society
กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับการศึกษาดนตรีในบริบทของอาเซียน ผ่านการบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณรุทธ์ สุทธจิตต์ ซึ่งจะกล่าวถึงความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาหลักสูตรดนตรีการเข้าถึงการศึกษาดนตรีและการบูรณาการดนตรีดั้งเดิมและร่วมสมัย

2) Diversity, Equity and Inclusion (DEI)
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ จัดขึ้นที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (PGVIM) ในวันที่ 4-5 มีนาคม 2567 โดยมี Xiangning Lin เป็นวิทยากรรับเชิญ เนื้อหามุ่งเน้นเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการอยู่ร่วมกันในแวดวงการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษา โดยมีการอภิปราย และกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำไปปรับใช้ในเชิงปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) Antique Piano
กิจกรรมการศึกษาดนตรีบนเครื่องดนตรีเก่าผ่านการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติโดยมีการร่วมมือระหว่าง PGVIM และพิพิธภัณฑ์เปียโนในกรุงเทพฯ กิจกรรมนี้ประกอบด้วยการนำเสนอเชิงวิชาการ การฝึกปฏิบัติและการแสดงสด โดยมีวิทยากร ได้แก่ Laurens Patzlaff และ Alberto Firrincieli


4) Eurythmy Workshop
“Unfolding Music into Movement and Form”
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มุ่งเน้นการถ่ายทอดดนตรีผ่านการเคลื่อนไหวและรูปแบบ (Eurythmy) โดยมี Gabrielle Armenier เป็นวิทยากรรับเชิญ จัดขึ้นที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา การอบรมเชิงปฎิบัติการนี้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับนักดนตรี
โดยใช้ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว Eurythmy เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง และทำความเข้าใจการถ่ายทอดองค์ประกอบทางดนตรีอย่างเป็นระบบตามหลักศิลปะ



5) Modular Synth Workshop
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Modular Synthesizer ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง มีคุณสถาปัตย์ ธีรนิตยภาพ และนางสาวพิชญ์สินี ภิธ นิบพิชญธาดาร์ เป็นวิทยากร พาทุกคนก้าวเข้าสู่โลกของ Modular Playground พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ที่เสียงดนตรีมาบรรจบกับจินตนาการในการแสดงที่เต็มไปด้วยพลังและลวดลายเสียงที่ผู้แสดงออกแบบขึ้นด้วยตนเอง


6) Wind Band Workshop
กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเล่นเครื่องลมในวงดุริยางค์
การแสดงshowcaseแบ่งออกเป็นสองภาค โดยนำเสนอทำนองที่ได้รับการคัดสรรและเรียบเรียงใหม่สำหรับ Flexible Ensemble โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินาวัฒน์ มั่นทรัพย์
ภาคที่ 1: A Seamless Soundscape
การแสดงต่อเนื่องที่ผสานทั้งภาพและเสียงเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน รายการแสดงประกอบด้วยทำนองดั้งเดิม อาทิ ล่องแม่ปิง (Sailing the MaePing), เต้ยโขง (ToeyKong)และลาวดวงเดือน (Lao Duang Deuan) ร้อยเรียงร่วมกับการแสดง Thai dances เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงอย่างลื่นไหล
ภาคที่ 2: Shifting the Experience
ต่อยอดจากภาคแรก ภาคนี้พาผู้ชมเข้าสู่โลกแห่งความจริงผ่านการแนะนำผลงานแบบสด โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ธีมย่อย เพื่อสร้างความมรส่วนร่วมและถ่ายทอดประสบการณ์ทางดนตรีในรูปแบบใหม่เปลี่ยนพื้นที่ ให้กลายเป็นเวทีแห่งประสบการณ์ร่วมทางเสียงดนตรี


7) Improvisation Workshop
เป็นกิจกรรมที่่จัดขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศิลปากร และ PGVIM โดยมีวิทยากรรับเชิญคือ Timothy O’Dwyer โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนเทคนิคการด้นสดในดนตรีคลาสสิกและร่วมสมัย
การแสดง improvisation พิเศษครั้งนี้เป็นการรวมตัวของนักดนตรี มากฝีมือจากมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศิลปากร LaSalle และ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานร่วมกันอย่างไม่เหมือนใคร โดยจะเป็นการเล่นเพลง Autumn Leaves ซึงเป็น jazz standard ที่มีทำนองไพเราะและโครงสร้างเสียงที่น่าสนใจ นักดนตรีแต่ละคนจะได้แสดงสไตล์ของตัวเอง พร้อมกับเล่นร่วมกันอย่างกลมกลืนในรูปแบบ ensemble


8) ASEAN Music Experience & Beyond
กิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีวิทยากร ได้แก่อาจารย์อานันท์ นาคคง, อาจารย์สมนึก แสงอรุณ, Dr. LaVerne delaPeña และ Dr. Mayco Santaella เพื่อสำรวจภูมิทัศน์เสียงดนตรีของอาเซียนผ่านมุมมองใหม่ๆ



9) Pop Band Workshop
กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันดนตรีกัลยาณวัฒนา และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีอาจารย์ ดร.ธนัช ชววิสุทธิกูล อาจารย์รณชัย ชลวิชิต อาจารย์ ดร.ปองภพ สุกิตติวงศ์ อาจารย์พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล Assoc.Prof.Tom Pierard และ Dr. Choong Hueyuen เป็นวิทยากรรับเชิญ โดยมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัตินดนตรีแนว Popular Music และเทคโนโลยีดนตรี
การแสดง Showcase ของวง Big Band ที่รวมเอาเครื่องดนตรีไฟฟ้าและ strings ensemble ไว้อย่างกลมกลืน เป็นการบรรเลงบทเพลงยอดนิยม (popular music) จากหลากหลายช่วงเวลา สะท้อนถึงความหลากหลายของแนวดนตรีวัฒนธรรม และอารมณ์ในแต่ละยุุคสมัย


