ประเภทของทุนสนับสนุนการวิจัย
วิจัยสร้างสรรค์ หรืองานสร้างสรรค์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดสรรงบประมาณเงินกองทุนอุดหนุนงานวิจัย วิจัยสร้างสรรค์ หรืองานสร้างสรรค์ จากเงินหมวดเงินรายได้ของสถาบันฯ โดยกำหนดประเภทของทุนอุดหนุนงานวิจัย วิจัยสร้างสรรค์ หรืองานสร้างสรรค์ ออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
ทุนสนับสนุนการทำวิจัยตามยุทธศาสตร์
การวิจัย หรือการวิจัยสร้างสรรค์ที่มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ พันธกิจในด้านการวิจัย หรือนโยบายการบริหารจัดการสถาบัน หรือนำกรอบการวิจัยและนวัตกรรมจากภาครัฐบาลหรือภาคธุรกิจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ มาต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมของตนเองหรือของผู้อื่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง รวมถึงการขยายผลการใช้ประโยชน์สู่วงกว้างยิ่งขึ้น โดยไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานวิจัยเดิม
ทุนสนับสนุนการทำงานสร้างสรรค์
ผลงานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ พันธกิจในด้านการวิจัย หรือนโยบายการบริหารจัดการสถาบัน ที่แสดงถึงคุณค่าทางสุนทรียะ ปรัชญา จริยธรรม หรือผลงานที่สะท้อนสังคม ประกอบกับหลักวิชาทางด้านดนตรี และศิลปะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่เอื้อต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจในความหมายและคุณค่าของงาน
ทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัย คู่มือ ตำรา แบบเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์ในวงวิชาการและวิชาชีพ และ/หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทุนสนับสนุนเพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ
การวิจัยหรืองานวิชาการในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกับศาสตร์เพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการของนักวิจัย
ทุนสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่
การวิจัยหรืองานวิชาการในลักษณะต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสแก่นักวิจัยในการแข่งขันรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ โดยมีขอบข่ายการวิจัยสอดคล้องตามทุนสนับสนุนการทำวิจัยตามยุทธศาสตร์
ทุนประเภทอื่น ๆ
การวิจัย หรือการวิจัยสร้างสรรค์ที่นอกเหนือจากประเภทที่กำหนด
PGVIM Research Funding
4 - STEP PROCESS
ตรวจสอบข้อเสนอโครงการและงบประมาณ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ตรวจสอบรายละเอียดโครงการเบื้องต้น โดย
- นักวิจัยสถาบันฯ ตรวจสอบความครบถ้วนของรายละเอียดในข้อเสนอโครงการ
- เจ้าหน้าที่การเงิน ตรวจสอบแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
- เจ้าหน้าที่พัสดุ ตรวจสอบแผนการการจัดจ้าง
- เจ้าหน้าที่แผนและงบประมาณ ตรวจสอบการระบุผลผลิต ผลลัพธ์ และประโยชน์ของข้อเสนอโครงการ
- ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของโครงการ (เชิงวิชาการ) โดย
- คณบดีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ (โครงการของเจ้าหน้าที่สายวิชาการ) หรือ
- ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบันฯ (โครงการของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน)
- สำนักงานสถาบันฯ รับข้อเสนอโครงการ เพื่อดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเงินทุนฯ
จัดสรรงบประมาณ
- คณะกรรมการบริหารเงินทุนฯ พิจารณากลั่นกรองและจัดสรรเงินทุนอุดหนุนการวิจัยฯ แก่โครงการ และแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกพิจารณาประเมินโครงการ
อนุมัติข้อเสนอโครงการและงบประมาณ
- คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ พิจารณาอนุมัติแผนดำเนินงาน และงบประมาณโครงการตามที่คณะกรรมการบริหารเงินทุนฯ เสนอ
- สำนักงานสถาบันฯ เสนออธิการบดีลงนามอนุมัติโครงการ และแจ้งผลอนุมัติดำเนินงานโครงการแก่หัวหน้าชุดโครงการ หรือหัวหน้าโครงการ