โครงการเร่งรัดสิทธิบัตรมุ่งเป้า เกี่ยวกับงานดนตรีกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมได้ประชาสัมพันธ์
โครงการเร่งรัดสิทธิบัตรมุ่งเป้า (Target-Patent Fast Track)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมการทางแพทย์และ
อาหารแห่งอนาคตที่เป็นประโยชน์กับสาธารณะ และมีศักยภาพในการนำไป
ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ให้ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือ
อนุสิทธิบัตร และระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (DIP e-Service)
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการจดทะเบียนทรัพย์สิน
ทางปัญญา
โดยขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรือ
อนุสิทธิบัตรยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลที่ตรงตามเงื่อนไขพร้อมหลักฐานประกอบการ
พิจารณา จำนวนไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4 โดยสามารถยื่นผ่านระบบ
e-Filling ระหว่างวันที่ 1-10 ของแต่ละเดือน
โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะประกาศโครงการที่ได้รับการคัดเลือก
ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยคำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
โครงการใดที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ
และแจ้งผลการพิจารณาสุดท้ายภายในกำหนดเวลาดังนี้
- 12 เดือน
นับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้เป็นคำขอที่ได้
รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
- 6 เดือน
นับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้เป็นคำขอที่
ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการสำหรับอนุสิทธิบัตร
โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้บริการข้อมูล
และคำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรและทรัพย์สิน
ทางปัญญาแบบครบวงจร (บริการ 24 ชั่วโมง) ทางเว็บไซต์
www.ipthailand.go.th
หรือสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้จาก
DIP e-Service : https://eservice.ipthailand.go.th
อนึ่ง
งานสร้างสรรค์ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาโดยส่วนใหญ่แล้ว
จะเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งสามารถพิจารณาเบื้องต้นดังนี้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณางานลิขสิทธิ์
1. เป็นงานที่แสดงออกถึงความคิด (expression of idea)
2. เป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (originality)
3. การทุ่มเทกำลัง ความรู้ ความสามารถ
ความตั้งใจวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ (sweat & labour and
judement)
4. มีลักษณะเข้าข่ายตามประเภทของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์รับรอง
5. เป็นงานที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
สิ่งที่ยื่นแจ้งลิขสิทธิ์ได้
ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ยื่นแจ้งข้อมูลจะต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์
ขึ้นเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนบุคคลอื่น และเป็นงานประเภทต่างๆ
ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้แก่
1. งานวรรณกรรม ลักษณะงานนิพนธ์ (เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน
คำร้องที่แต่งเพื่อประกอบทำนอง) และงานวรรณกรรม
ลักษณะงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. งานนาฏกรรม (เช่น ท่ารำ ท่าเต้น)
3. งานศิลปกรรม ได้แก่ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์
งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ แผนที่
งานศิลปประยุกต์
4. งานดนตรีกรรม (เช่น โน้ตเพลง ทำนอง ทำนองและคำร้อง)
5. งานโสตทัศนวัสดุ (เช่น ภาพและเสียงที่ถ่ายทำจากกล้องวิดีโอ)
6. งานภาพยนตร์
7. งานสิ่งบันทึกเสียง (เช่น การบันทึกเสียงในแผ่นเสียง)
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์)
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์
หรือแผนกศิลปะ
ในการแนบรายละเอียดผลงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม (1) – (9)
ให้แนบสำเนาของผลงาน หรือ บรรจุผลงานลงบนแผ่นซีดี แผ่นดีวีดี
หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ตามความเหมาะสม
หรือแนบไฟล์เอกสารตามที่ระบบยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing)
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุไว้
การกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ
1. ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่เว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/
2. ขั้นตอนที่ 2 ทำการเข้าสู่ระบบ Single Sign-on
กดเลือกประเภทการจดทะเบียน/แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จะเปิดหน้าเว็บไซต์
https://copyright.ipthailand.go.th/
3. ขั้นตอนที่ 3 เลือกประเภทการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบฟอร์ม ลข.01
4. ขั้นตอนที่ 4 ให้ประชาชนดำเนินการกรอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคำขอ
แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
(1) ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ระบุ สภาพบุคคล ชื่อ – สกุล ที่อยู่
ประเทศ สัญชาติ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล และเลขประจำตัวประชาชน
หรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) ของเจ้าของลิขสิทธิ์
(2) ชื่อตัวแทน (ถ้ามี)
กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมา
ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
ระบุถึงขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ รวมทั้งให้ระบุ สภาพบุคคล
ชื่อ– สกุล ที่อยู่ ประเทศ สัญชาติ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล
และเลขประจำตัวประชาชน หรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี)
ของผู้รับมอบอำนาจ
(3) สถานที่ติดต่อและจัดส่งเอกสารในประเทศไทย ให้ระบุว่า
มารับด้วยตนเอง หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ (โปรดเลือกที่อยู่ที่ให้จัดส่งฯ)
พร้อมระบุสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์หรือ
ตัวแทน เพื่อสะดวกในการติดตามเอกสารและผลงาน
กรณีเอกสารและผลงานไม่ครบถ้วน
(4) ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง ให้ระบุ ชื่อ – สกุล ที่อยู่
ประเทศ สัญชาติ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล และเลขประจำตัวประชาชน
หรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) ของผู้สร้างสรรค์
(5) ชื่อผลงาน ให้ระบุเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
โดยระบุชื่อผลงานที่สะกดถูกต้อง
เพื่อประโยชน์ในการระบุในหนังสือแสดงการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
(6) ประเภทของงานลิขสิทธิ์
ให้ระบุประเภทของงานและลักษณะงาน
โดยดูจากผลงานที่ประสงค์จะยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ว่าเข้าข่าย
เป็นงานประเภทใด
(7) ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ให้ระบุว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยวิธีใด เช่น เป็นผู้สร้างสรรค์เอง
นายจ้างผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับโอนลิขสิทธิ์ เป็นต้น
(8) รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ/ แรงบันดาลใจ
ให้อธิบายลักษณะของผลงาน
และให้ระบุแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
(9) สร้างสรรค์ในประเทศ/ ปีที่สร้างสรรค์ ให้ระบุว่า
การสร้างสรรค์ผลงานกระทำในประเทศใด
และให้ระบุปีที่ทำการสร้างสรรค์ผลงาน
(10) การโฆษณางานผลงานลิขสิทธิ์ ให้ระบุ วัน เดือน ปี
และประเทศที่มีการโฆษณาครั้งแรก กรณียังไม่มีการโฆษณางาน
ให้ระบุโดยทำเครื่องหมายในช่องยังไม่ได้โฆษณา
(11) การจัดทำสื่อสำหรับคนพิการ ให้ระบุ มี
พร้อมระบุประเภทสื่อ กรณีไม่มีการจัดทำสื่อสำหรับคนพิการ
ให้ระบุโดยทำเครื่องหมายในช่องไม่มี
(12) การลงชื่อในคำขอฯ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ลงชื่อ
กรณีตัวแทนลงชื่อต้องมีหนังสือมอบอำนาจระบุให้
ผู้รับมอบอำนาจสามารถลงชื่อแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ได้
5. ขั้นตอนที่ 5
ตรวจสอบหลักฐานและดาวน์โหลดหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของ
ลิขสิทธิ์จากระบบฯ และให้เจ้าของลิขสิทธ์เป็นผู้ลงนาม
6. ขั้นตอนที่ 6 อัพโหลดไฟล์หลักฐานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์
โดยกดปุ่มอัพโหลดที่รายการหลักฐานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์
7. ขั้นตอนที่ 7 เลือกวิธีการยืนยันตน กดเลือก
ยืนยันตนผ่านระบบยืนยันตนแบบรวมศูนย์กลาง
กรณีที่ประชาชนมีบัญชีผู้ใช้งาน DIP CA กดปุ่ม ขั้นตอนถัดไป
8. ขั้นตอนที่ 8 กดยอมรับเงื่อนไขการรับรองคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
และส่งคำขอขอแจ้งลิขสิทธิ์
ทั้งนี้ ระยะเวลาการดำเนินการหลังจากจดแจ้งลิขสิทธิ์
หรือยื่นจดแจ้งกับนายทะเบียนเพื่อพิจารณาอนุมัติ ใช้เวลาประมาณ 4
สัปดาห์ รายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
สามารถดูเพิ่มเติมได้จากระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาฯ