ประวัติ
ดร.อภิญญ์พร ชัยวานิชศิริ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวงและวาทยากรให้กับวงประสานเสียง PGVIM Singers ซึ่งเป็นวงประสานเสียงระหว่างวัยในชุมชน
ดร.อภิญญ์พร สำเร็จการศึกษาระดับ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) สาขาการศึกษาดนตรี จาก University of Missouri (พ.ศ. 2567) ประเทศสหรัฐอเมริกา ครุศาสตรมหาบัณฑิต (M.Ed.) สาขาการศึกษาดนตรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2560) ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (B.Mus.) สาขาละครเพลง จาก The Australian Institute of Music (พ.ศ. 2557) ประเทศออสเตรเลีย และวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.) สาขาเคมีประยุกต์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2554)
ในระหว่างศึกษาที่ University of Missouri ดร.อภิญญ์พร ได้รับทุนการศึกษาและได้เป็นผู้ช่วยสอนใน รายวิชา Introduction to World Music นอกจากนี้ยังสอนขับร้องในโครงการ Community Music Program และทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน Mid-Missouri NATS Student Auditions ในปี พ.ศ. 2567
ก่อนศึกษาระดับปริญญาเอก ดร.อภิญญ์พร มีประสบการณ์สอนในระดับอุดมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K–12) งานวิจัยของเธอมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลายและครอบคลุม โดยเน้นสหศาสตร์ในศิลปะการแสดง (ละครเพลง) การสอนที่ตอบสนองต่อวัฒนธรรม (Culturally Responsive Teaching) และการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เธอได้นำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการที่งานประชุมวิชาการระดับรัฐ ระดับและระดับนานาชาติ เช่น Southeast Missouri State University Music Education Colloquium (พ.ศ. 2566) และ 2024 Biennial NAfME Music Research and Teacher Education Conference (พ.ศ. 2567) นอกจากนี้ บทความวิจัยของเธอเรื่อง High School Music Teachers’ Attitudes and Practices Regarding Culturally Responsive Teaching in Musical Theatre Production ยังได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Music Education (SCOPUS Q1) (พ.ศ. 2568) และบทความวิชาการเรื่อง Culturally Responsive Teaching in Musical Theatre Production: A Literature Review อยู่ระหว่างขั้นตอนการตีพิมพ์ในวารสาร Update: Applications of Research in Music Education
ในฐานะครูผู้สอน ดร.อภิญญ์พร ยึดมั่นในหลักการที่จะทำให้ดนตรีเข้าถึงได้สำหรับทุกคน โดยมุ่งส่งเสริมการเติบโตทางด้านตัวตนของผู้เรียนและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงพัฒนาทักษะทางดนตรีของผู้เรียนแต่ละคนผ่านแนวทางการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง