- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับสถาบัน
- เรียนที่สถาบันดนตรี
- บริการวิชาการ
- ข่าวสาร
- E–Service
- ติดต่อสถาบัน
Princess Galyani Vadhana Institute of Music, Thailand, is a unique conservatory of music with a contemporary approach to classical music.
2010, ซอย อรุณอมรินทร์ 36, ถนนอรุณอมรินทร์, แขวงบางยี่ขัน, เขตบางพลัด, กรุงเทพมหานคร 10700
Phone : 02-447-8597
Fax : 02-447-8598
Email : saraban@pgvim.ac.th
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ได้ให้ความเห็นชอบโครงการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 7 รอบ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ในการประชุมครั้งที่ 4/2550 สภามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เห็นชอบโครงการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยศิลปากร ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนอแนะ เพื่อให้สามารถของบประมาณแผ่นดินมาดำเนินการในการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้
กระทรวงวัฒนธรรมได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์กระทรวงอุตสาหกรรม ขอใช้พื้นที่ 14 ไร่ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขันเดิมเชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี เพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของโครงการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ได้เสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทอดพระเนตรสถานที่ ทั้งอาคารโรงล้างขวด (ซึ่งต่อมาคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการในพระราชดำริ (กปร.) ได้บูรณะและใช้เป็นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการในพระราชดำริและมูลนิธิชัยพัฒนา) อาคารอำนวยการโรงงานบางยี่ขัน (เดิม) และอาคารอนุรักษ์ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และอนุมัติงบประมาณจำนวน 22,535,750 บาท สำหรับการดำเนินการเบื้องต้นของโครงการฯ
มหาวิทยาลัยศิลปากรแต่งตั้งคณะทำงานด้านออกแบบก่อสร้างและสถาปัตยกรรมของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และคณะทำงานด้านการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสให้ขอใช้พื้นที่บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังตอบอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศิลปากรใช้อาคารราชพัสดุของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อปรับปรุงเป็นอาคารอำนวยการ ได้รับงบประมาณในปีพ.ศ. 2552 เพื่อปรับปรุงเป็นเงิน 20 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 10 ล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาใช้พื้นที่ว่าง 1,730 ตารางเมตร ในบริเวณโรงงานบางยี่ขัน (เดิม) เป็นที่สร้างอาคารเรียนของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ซึ่งได้รับงบประมาณแผ่นดินปี 2554 ถึงปี 2557 ในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 127,599,000 บาท โดยบริษัทสถาปนิก A 49 จำกัด ภายใต้คำแนะนำของศาสตราจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2554 โดยบริษัทเอสอินเตอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง อาคารดังกล่าวเป็นอาคาร 4 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 4,180 ตารางเมตร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารอำนวยการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พร้อมกับอาคารของมูลนิธิชัยพัฒนา และอาคารของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการในพระราชดำริ (กปร.) และทรงเจิมศิลาฤกษ์อาคารเรียนของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา อาคารอำนวยการ มีพื้นที่ใช้สอย 1,674 ตารางเมตร ชั้นล่างเป็นหอประชุม ชั้นที่ 2 เป็นสำนักงานสถาบันฯ
ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารอำนวยการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับสั่งกับ ดร.โสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากรซึ่งไปร่วมรับเสด็จฯ ในงานดังกล่าวว่า ให้กรมศิลปากรบูรณะอาคารอนุรักษ์ที่ตั้งอยู่ข้างอาคารอำนวยการ แล้วมอบให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ กรมศิลปากรได้สนองพระราชดำริโดยได้ตั้งงบประมาณ 36 ล้านบาท ต่อเนื่องสำหรับปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2556 เพื่อบูรณะและจัดสร้างพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เบื้องหน้าอาคาร คาดว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2557 อาคารอำนวยการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบกลางเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยเป็นจำนวนเงิน 2,357,000 บาท การซ่อมแซมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555
พระครูศิริธรรมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระยาศิริไอยสวรรย์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยประดิษฐานแผ่นศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเจิมพระราชทานแล้ว
สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาใช้พื้นที่ว่าง 1,730 ตารางเมตร ในบริเวณโรงงานบางยี่ขัน (เดิม) เป็นที่สร้างอาคารเรียนของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ซึ่งได้รับงบประมาณแผ่นดินปี 2554 ถึงปี 2557 ในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 127,599,000 บาท โดยบริษัทสถาปนิก A 49 จำกัด ภายใต้คำแนะนำของศาสตราจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2554 โดยบริษัทเอสอินเตอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง อาคารดังกล่าวเป็นอาคาร 4 ชั้นพื้นที่ใช้สอย 4,180 ตารางเมตร
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้นำพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555 อันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ได้ย้ายที่ทำงานจากตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน มาปฏิบัติงานที่อาคารอำนวยการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเลขที่ 2010 ถนนอรุณอัมรินทร์ 36 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
ปีการศึกษา 2557 สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 14 คน
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดพิธีถวายความอาลัยและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ภายในงานมีการบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์โดยวงดุริยางค์สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา อำนวยเพลงโดย อาจารย์สิทธิชัย เพ็งเจริญ และร่วมร้องเพลง “ความฝันอันสูงสุด” รวมถึงจุดเทียน ณ ลานหน้าพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงสงขลานครินทร์ อาคารคีตราชนครินทร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่าย พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงเปิดอาคารคีตราชนครินทร์ที่บูรณะแล้วเสร็จกับอาคารกัลยาณินคีตการ ซึ่งเป็นอาคารเรียน
กรมธนารักษ์ มีหนังสือที่ กค. 0314/9508 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2560 อนุญาตให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ใช้พื้นที่สิ่งก่อสร้างทั้ง 4 อาคาร ซึ่งประกอบด้วย อาคารอำนวยการ อาคารคีตราชนครินทร์ อาคารศูนย์การเรียนรู้และสันทนาการและพื้นที่โดยรอบ และอาคารกัลยาณินคีตการ