บีเดอร์ไมเออร์ ความเรียบง่ายที่ลุ่มลึกในดนตรี


PGVIM would like to invite everyone to the 

BIEDERMEIER CONCERT
Rigorous Simplicity in Music

Funded by Princess Galyani Vadhana Institute of Music as part of the Biedermeier Trio research


Music for Violin, Viola and Guitar

Thai Traditional Music | Sadhukarn (Salutation) from Evening Prelude 

arr. by Suppabhorn Suwanpakdee

L. v. Call (1767-1815) | Serenade Op. 75

W. Matiegka (1773-1830) | Serenade Op. 26

A. Diabelli (1781-1858) | Troisième Grande Serenade, Op. 66


Performers:

Hayne Kim, violin

Suppabhorn Suwanpakdee, viola

Apichai Chantanakajornfung, guitar


Venue

Wednesday 2nd March 2022 at 7pm

Thai-Asian Music Center (TAMC), PGVIM


—----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Biedermeier, Rigorous Simplicity in Music


In every culture and time period, music has always been a medium of expression that gathers people together. In Thailand, the Sadhukarn, ceremonial music from the beginning of the Rattanakosin era (1782-1851), expresses a bodily or mental salutation to heavenly spirits, inviting and uniting the minds of the people towards one shared belief. In a parallel era in Central Europe, the music of the Biedermeier period (1815-1848) also had a unifying function as it grew out of societal conditions in which the distinction of classes became less pronounced. As the aristocracy declined in power and the middle class grew in prominence, music became a popular and accessible form of entertainment at home. Far from a backwards step in artistic developments, however, the search for a simpler, more natural aesthetic in music and the arts was a response to the tumultuous events that had shaken European history preceding this era; it was a conscious, rigorous move to restore a sense of peace. 


What connections can we find between the Biedermeier period and the contemporary context of our present day? We invoke the spirit of Biedermeier culture – in its search for a simplicity and an elegance that is accessible to all – as a contrast to the turbulent global events and various turmoils of contemporary life that we face. Our concert program will begin with the Thai Sadhukarn as a prelude that dedicates the concert to a new hope for the coming days. We will then proceed with compositions by Leonard von Call (1767-1815), Wenzeslaus Matiegka (1773 - 1830), and Anton Diabelli (1781 - 1858), three quintessential composers of chamber music who lived and worked in Vienna during the Biedermeier period. By performing these works, we aim to promote a deeper understanding of the role and social function that the music of this period has been able to have in the broader musical community, both in the past and today.

 


บีเดอร์ไมเออร์ ความเรียบง่ายที่ลุ่มลึกในดนตรี


ในทุกวัฒนธรรมและช่วงเวลา ดนตรีนั้นเป็นเครื่องมือสื่อสารหนึ่งที่ดึงดูดผู้คนมาอยู่ร่วมกัน ในประเทศไทยบทเพลงสาธุการเป็นเพลงพิธีการในช่วงยุคสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2394) ซึ่งแสดงออกถึงความเคารพเทิดทูนทางร่างกายและจิตใจให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในสมัยนั้น ในขณะเดียวกันในทวีปยุโรปกลาง ดนตรีบีเดอร์ไมเออร์ (พ.ศ. 2358-2391) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากโครงสร้างสังคมที่ความแตกต่างของชนชั้นลดลง ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรวมผู้คนเข้าด้วยกัน ในช่วงที่ชนชั้นสูงเริ่มเสื่อมอำนาจและชนชั้นกลางมีบทบาทมากขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงความบันเทิงด้านดนตรีได้จากที่บ้าน ความนิยมเช่นนี้กระจายไปอย่างกว้างขวาง ความโหยหาความงามด้านดนตรีและศิลปะที่เรียบง่าย เป็นธรรมชาติ เกิดมากขึ้นหลังจากความยุ่งยาก วุ่นวาย ในสังคมยุโรปช่วงเวลาก่อนหน้านี้ มันเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนเริ่มตระหนักรู้และต้องการที่จะฟื้นคืนสันติภาพในสังคมและในจิตใจตนเอง


มีความสัมพันธ์ใดที่เราพบจากช่วงเวลาของบีเดอร์ไมเออร์กับบริบททางสังคมในปัจจุบัน เรากำลังปลุกจิตวิญญาณของวัฒนธรรมบีเดอร์ไมเออร์ - ในการค้นหาความเรียบง่ายและสง่างามที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ - ซึ่งขัดแย้งกับสภาพอันสับสนวุ่นวายของโลกและสังคมในทุกวันนี้ บทเพลงที่เรานำเสนอจะเริ่มด้วยบทเพลงสาธุการ เป็นการโหมโรงที่อุทิศคอนเสิร์ตให้กับความหวังใหม่สำหรับวันข้างหน้า ต่อจากนั้นจะเป็นผลงานเพลงของ เลออนฮาร์ท ฟอน คาลล์ (Leonhard von Call, พ.ศ. 2310-2358) เวนเซสลาอุส มาทิเอกกา (Wenzeslaus Matiegka, พ.ศ. 2316-2373) และ อันทอน ดิอาเบลลี (Anton Diabelli, พ.ศ. 2324-2401) สามคีตกวีที่ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในกรุงเวียนนาประเทศออสเตรียในช่วงเวลาของบีเดอร์ไมเออร์ พวกเขามีบทบาทสำคัญในบทเพลงการประพันธ์แบบรวมวงขนาดเล็ก โดยการแสดงผลงานเหล่านี้ เรามุ่งหวังที่จะส่งเสริมความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ทางสังคมที่ดนตรีในยุคนี้สามารถทำได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน 


เรียนเชิญทุกท่านครับ
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19.00 น.
ที่สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ห้อง C312 (TAMC)


TOP